วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

560325 อภิสังขารชำระจิตสันดานสู่นิพพานพุทธ


รายการเรียนอิสระ(ตามสำนึก) โดยพ่อครูและอ.กฤษฎา  เมื่อวันที่ ๒๕ มี.ค.๒๕๕๖
เรื่อง อภิสังขารชำระจิตสันดานสู่นิพพานพุทธ

            อ.กฤษฎา เปิดรายการโดยการสไกป์จากสันติอโศก เกริ่นกล่าวถึงในรอบสัปดาห์ ว่าพ่อครูได้อรรถาธิบายในเรื่องของสังขารที่อวิชชากับ สังขารที่วิชชา นั้นมีความต่างกันอย่างไร
            พ่อครูว่าคนปกติเกิดมาด้วยอวิชชา แล้วก็มีการสังขาร คนไม่ได้ศึกษาสังขารก็แยกไม่ออกว่าอันไหนสังขารด้วยอวิชชากับวิชชา อันไหนสังขารอย่างธรรมดา อันไหนสังขารอย่างอภิสังขาร หรือแยกสังขาร ๓ ไม่ออก
คลิปรายการ เรียนอิสระฯ ณ บ้านราชฯ จั. ๒๕ มี.ค. ๒๕๕๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะโรง 
เริ่ม 18:04 น. ตอน.. "อภิสังขารชำระจิตสันดานสู่นิพพานพุทธ"

            อ.กฤษฎา ว่าคนปกติไม่รู้รายละเอียดของการปฏิบัติ ในการสังขาร ที่มีอวิชชาเป็นตัวเริ่มต้น และจะมีกลยุทธหรือวิธีการปฏิบัติอย่างไร ที่พ่อครูได้กล่าวถึงอวิชชาสูตรเมื่อวานนี้ ที่สอนถึงอาหารของวิชชาและอวิชชาว่ามีต้นเหตุจากการคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์หรือไม่?

            พ่อครู.....ตอนนี้ได้อธิบายธรรมะแบบร้อยมาลัย คนที่มีสภาวะจะเข้าใจดี ส่วนผู้ไม่มีสภาวะนั้นก็ต้องเห็นใจว่าคงจะฟังไม่เข้าใจ แต่พ่อครูต้องทำรายละเอียดให้เพิ่มขึ้นเพราะอายุปูนนี้แล้ว ก็พยายามจะลงรายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีคุณ
0850556xxx        ผมอยากไปฝึกดำน้าที่แม่น้ามูล จะได้ดำน้ำเก่งเหมือนพ่อท่าน
0850556xxx        พท.รู้ทุกอย่างเว้นธรรมะพระพุทธเจ้า
0828131xxx        จะสอนธรรมแค่การท่องจำ รู้ไม่จริงไม่พิสูจน์โกหกมดเท็ดแสงอรุ่นไม่มาสุริยาไม่มีโลกไหนโลกนี้คุณเดาผิดแล้วอายชาวคีโม ฮาๆ
0850556xxx        ถ้าไม่ใช่วิญญานแล่นไปท่องเที่ยวไปแล้วมันคืออีหยังทิ่แล่นโปท่องเที่ยวไป
            ก็เห็นใจเขาที่ว่าพ่อครูดำน้ำ หาว่าพ่อครูไม่รู้ธรรมะพระพุทธเจ้า พ่อครูก็ไม่ถือสาเขา เขาไม่รู้เรื่องจริงๆ เห็นใจเขา เขาจึงว่าเราดำน้ำไป แต่ก็ดีเขาก็ยังอุตส่าห์ตามฟัง ก็ดีช่วยตรวจสอบ ก็แจ้งมาอย่างคุณ 8705 ก็หายเงียบไปเลย มีคุณ 0556 ก็โผล่มาสองสามข้อความ
            สำหรับผู้ที่ท้วงติงมาก็ขออภัย ไม่ได้หน้าด้านหน้าทน ก็จำเป็นต้องอธิบายต่อ มั่นใจว่าไม่ได้ทำเรื่องเลวร้าย แต่มั่นใจว่าอยู่ในทำนองคลองธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ถ้าผู้มีปฏิภาณปัญญาจะเข้าใจ
            เขาอุตส่าห์ท้วงมาเป็นสิ่งแสดงออกว่า ถ้าอย่างหนึ่งถูก อีกอย่างหนึ่งต้องผิด ถ้ามีคนทักท้วงมามาก ก็น่าจะเป็นเรื่องผิด บางคนเขามีปฏิภาณว่าสิ่งที่พ่อครูพูดนั้นผิด แต่เขาไม่กล้าท้วง แต่พ่อครูก็ได้เอาหลักฐานมาอ้างอิงตลอด และพ่อครูก็ว่าเขาแปลมาผิดอีก เขาก็ยิ่งว่าพ่อครูแปลเอาเอง แต่ก็ไม่ได้ท้อถอย ขอตั้งใจเจตนาอธิบายต่อ
          พ่อครูจะได้อธิบายต่ออีก ในเรื่องของ กาย
"สังขารŽ "จึงคือ การประชุมของสภาวะที่ปรุงแต่งกันขึ้นมา แล้วก็มีอำนาจ มีบทบาท ออกฤทธิ์แรงจัดแจงความเป็นคน แล้วก็มีพฤติกรรมเกิดขึ้นในสังคม เป็นพฤติภาพในโลก
            อาตมาต้องการสำทับย้ำคำว่า "กาย"Ž ซึ่งเป็น "องค์ประชุม" Žที่ต้องเข้าใจในการปฏิบัติธรรม ว่า เมื่อท่านหมายถึง " กาย "Ž ที่ รวมทั้งภายนอก-รวมทั้งภายใน ไม่ได้ขาดการเชื่อมต่อกันอยู่นั่นแหละที่เรียกว่า  "กาย "Žคือ องค์ประชุมของรูปของนาม ทั้งจากภายนอก ต่อเนื่องเข้าไปสู่ภายใน ก็รับรู้ติดต่อกันทำงานร่วมกันอยู่
            เช่น  "อัชฌัตตังอรูปสัญญี เอโก พหิทธารูปานิ ปัสสติ (วิโมกข์ ข้อที่ ๒) ซึ่งอาตมาขอให้ความหมายว่า ผู้ที่  "เห็น "Ž(ปัสสติ)ด้วยการ "สัมผัส "Žภาวะจริง เห็นทั้งรูปทั้งหลายภายนอก และเห็นทั้งรูปทั้งหลายภายใน แล้วลึกซึ้งเข้าไปเห็นทั้งอรูปภายในไปทั้งหมด ด้วย "สัญญา "Ž คือ ความรู้ที่สามารถกำหนดหมายสัมผัสรู้ภาวะรูปทั้งปวง ตลอดไปจนถึงภาวะอรูปทั้งปวงนั้นๆได้จริง โดยตัวเอง(เอโก) ของตนเอง ในตนเอง สำเร็จเอง(เอโก)
            "รูป"Žหรือ"อรูป"Žคือ สิ่งที่ถูกรู้ ด้วย "ปัญญาŽ"หรือ "ญาณŽ"ที่แท้คือ "วิชชา"Ž
            ดังนั้น แม้จะเป็น "นามธรม"Žที่ประชุมกันเป็นหมู่เป็นกองขึ้น แล้วเรียกว่า "นามกาย"Ž ก็เป็น "รูป"Ž คือ เป็น "รูปของนามธรรมŽ"นั้นๆ เพราะอยู่ในภาวะที่ "ถูกรู้"Žไง
            ที่บาลีว่า "อิเธกัจโจ ปุคฺคโล อัฏฐ วิโมกเข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ปัญญาย จัสส ทิสฺวา อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ"Ž ท่านแปลไว้ว่า "บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะของผู้นั้นก็หมดสิ้นแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา"Ž (พระไตรปิฎก เล่ม ๓๖ ข้อ ๑๕๑)
            คำว่า ด้วยกาย ในที่นี้ ยืนยันให้เห็นชัด ว่าเป็นคำสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ และอีกคำคือ"ถูกต้อง"หรือ"สัมผัส"Ž(ผุสิต)ที่เป็นตัวชี้บ่งว่า จะเป็น"ความจริง"Žที่เรียกว่า"สัจธรรมŽ" ต้องมี"สัมผัสภาวะนั้นอยู่หลัดๆ"Žแม้จะเป็น "นามธรรมŽ"หรือ "นิโรธ"Ž
            ดังนั้น สังขารเกิด เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร  อปุญญาภิสังขาร  อาเนญชาภิสังขาร  กายสังขาร  วจีสังขาร  จิตตสังขาร
            ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
            กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา  นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร
            สังเกตให้ดีๆนะ ว่า กุศล และเจตนา ที่เป็น "กามาวจร และ รูปาวจร"Ž ตามที่พระพุทธเจ้าทรงระบุไว้นี้ จะสำเร็จผลเป็น"บุญ"Ž(ปุญญ)นั้น ต้องเกิดด้วย "ทานŽ" ด้วย"ศีลŽ" และที่สำคัญคำว่า ด้วย"ภาวนา"Žนี่แหละที่อาตมาเห็นว่ายังเพี้ยนๆกันอยู่
            "บุญŽ"ที่จะสำเร็จผลด้วย"านก็ไม่ใช่สำเร็จด้วย "การทำทานเพียงแค่ทำพฤติภายนอก"Žเท่านั้น โดยไม่มีความรู้เลยว่า "ทานŽ"แล้ว"ทำใจในใจ"Ž(มนสิกโรติ) อย่างไร จึงจะ "มีผล"Žเป็น "บุญ"Žกันตามแบบพุทธ หรือแม้ "ศีลŽ"ปฏิบัติกันอย่างไร จึงจะ "มีผล"Žเป็น"บุญŽ"กันตามแบบพุทธ
            โดยเฉพาะ"ภาวนาŽ"คืออะไร ทำอย่างไร จึงจะ"มีผลŽ"เป็น"บุญ"Žกันตามแบบพุทธ ซึ่ง"ภาวนา"Žนี้หมายถึง"การเกิดผล"Ž เป็นเรื่องของ"ผล"Ž แต่ไปหลงผิดกันแค่ว่า "ภาวนา"Žเป็น"วิธีการปฏิบัติŽ" พูดกัน เข้าใจกันอย่างนั้น  ซึ่งนั่นมันแค่"มรรค"Ž ยังไม่ถึง"ผลŽ" ยังเป็นคนละอย่างกับความเป็น"ผล"Ž
            ถ้าถึงขั้นภาวนา"Ž มันก็ต้องหมายถึงผลŽ"ที่เกิดขึ้น(ภาวนา) จากการปฏิบัติ ถูกแบบถูกแผนของศาสดามั้ย แล้วมี"ผลŽ"อย่างไร จากการกระทำอย่างไร
            ภาษาที่ว่า"บุญŽ"นี้ คือ "ผล"Ž ที่ผู้ปฏิบัติ"จะได้"Ž  "บุญŽ"เป็น"สิ่งที่ได้"Žก็จริง แต่ไม่ใช่"ได้ความโลภเติมใส่จิตใจ"Ž ทว่าหมายถึง"ผลในใจ"ที่ชำระจิตสันดาน หรือผลในใจที่ "ชำระกิเลสให้ลดให้หมดไปจากจิตใจ"Ž ซึ่งต้อง "ทำใจŽ"สละออกไป
            จึงจะเป็น "การได้บุญ"Žที่ถูกต้อง"สัมมาทิฏฐิŽ"
            ถ้าผู้ทำทานยังมี "การทำใจในใจไม่ถ่องแท้"Ž(โยนิโสมนสิการ) กล่าวคือ "ยังทำใจในใจ"Ž(มนสิกโรติ) ไม่เป็น "การทานŽ" ซึ่งต้องเป็น "ทำใจให้สละใจโลภออกไป"Žไม่เป็น หรือทำไม่ถูก กลายเป็น "ทำใจในใจ"Žเป็นใจขอ-ใจเอา-ใจอยากได้
            หาก "ทำใจ"Žแบบนั้น มันคือ มโนกรรมที่"ทำใจโลภเพิ่มใส่ให้ตนŽ"ต่างหาก
            ผู้ทำเช่นนี้ ก็ได้ "ความโลภ"Žตามมโนกรรมที่มี"พฤติของจิตใจ"Žที่ทำจริง
            "ทำทาน"Žแต่ได้"ความโลภใส่ใจ"Ž มันก็ไม่เป็น"บุญŽ"เลย แม้จะสละวัตถุ  ก็ไดุ้ศล ได้ความดีงามที่เป็น "โลกียธรรมŽ"ส่วนนี้ แต่ ไม่ได้"กุศล"Žที่เข้าขั้น"บุญ"Ž คือ ขั้น"ชำระจิตสันดานŽ"อันเป็น"ปรมัตถธรรม"Žที่บรรลุธรรม"โลกุตระŽ "
            ขั้น"จิตถูกชำระสันดาน"Žก็ดี "จิตถูกชำระกิเลส"Žก็ดี นี่แหละที่พุทธศาสนามันได้เพี้ยนออกจาก " สารสัจจะของพุทธŽ " ไปเป็นเรื่องตื้นๆ พื้นๆ ใครๆทั่วไปก็ทำได้ ทำกัน ที่จริงไม่ใช่เรื่องยากอะไรนัก แต่มันมิจฉาทิฏฐิกันเท่านั้นจึงทำบุญไม่ได้บุญ
            ทุกวันนี้ภาษาคำว่า " บุญŽ " นี่ มันหมายถึงอะไรต่ออะไรผิดเพี้ยนไปหนักหนาแล้ว คนจึง " ทำบุญ " Žก็ผิด แล้วไปหลง " สิ่งที่ตนได้ " Žก็ผิด ซึ่งยังไม่ใช่ " บุญ " Žแท้ๆเลย
            ลองมาทำความเข้าใจกับ " ปุญญาภิสังขาร " Žกันดีๆซิ
            พระบาลีว่า ตตฺถ กตโม ปุญฺาภิสงฺขาโร
กุสลา เจตนา กามาวจรา รูปาวจรา ทานมยา สีลมยา ภาวนามยา 
อยํ วุจฺจติ ปุญฺาภิสงฺขาโร ฯŽ
            ซึ่งท่านแปลเป็นไทยไว้ว่า  " กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา  นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขารŽ "
            ตามภูมิอาตมาซึ่งจะเอาสภาวะธรรมที่อาตมามีเป็นหลัก ก็เข้าใจได้ว่า กุศล นั้นคำหนึ่ง เจตนา นั้นอีกคำหนึ่ง ที่มีในประโยคนี้ ซึ่งให้ความหมายอยู่ชัด
            ดังนั้น ปุญญาภิสังขาร จึงหมายถึง ความมุ่งหมาย(เจตนา) ปฏิบัติตนให้เกิดความดีงามถูกต้อง(กุศล) ที่ท่องเที่ยวไปในแดนกามภพ(กามาวจร) และท่องเที่ยวไปในแดนรูปภพ(รูปาวจร) ที่สำเร็จได้ด้วยทาน สำเร็จได้ด้วยศีล สำเร็จได้ด้วยภาวนา ซึ่งต้องเข้าใจ " ทาน-ศีล-ภาวนา " Žอย่างสัมมาทิฏฐิแท้จริงเป็นสำคัญ
            ดังที่ได้อธิบาย " การทำทานŽ "  ที่ผ่านมานั้นบ้างแล้วเป็นต้น
            ความสำคัญตรงตัวของ " บุญ " Ž ก็คือ ภาวะนั้นต้อง " ชำระจิตสันดานให้หมดจด " Ž
(สันตานัง  ปุนาติ วิโสเธติ) ซึ่งกิเลสอนุสัยคือสันดานในจิตใจ จึงจะต้องชำระกิเลสทั้งหลายให้ลดละจางคลายลงๆๆ กระทั่งสะอาดสิ้นอนุสัยจนหมดจด
            ดังนี้จะเป็น " บุญ " Žที่ถูกที่แท้ เป็นปรมัตถสัจจะจริง ชี้บ่งยืนยันได้ว่า " กุศล " Ž นั้นเข้าขั้น " บุญ " Ž ตาม " เจตนา " Ž หรือตาม " ความมุ่งหมาย " Ž ซึ่งมุ่งหมายไปนิพพาน
            แต่ถ้า " กุศล " Žยังเป็นสังขารได้แค่ความดีงาม แค่กรรมดี ที่เป็นโลกียะ นั่นก็เป็น " กุศล " Žได้ ก็เป็นไปตาม " เจตนา " Ž(ความมุ่งหมาย)ของผู้นั้น
             " อภิสังขาร ๓ " Žของผู้นั้น ก็เป็น " กุศล " Žตาม " เจตนาŽ " ขั้นโลกียะ ก็เป็นของผู้ที่ไม่มี " ความมุ่งหมายŽ " หรือไม่มี " เจตนา " Žให้ " กุศล " Žเป็นผลถึงขั้น " บุญ " Žที่แปลชัดเจนว่า  " ชำระจิตสันดานให้หมดจดหรือชำระกิเลสให้หมดจดŽ "   
             " ปุญญาภิสังขาร " Ž ก็ไม่ต้องหมายถึง  " ชำระจิตสันดาน,ชำระกิเลสŽ " เป็นปรมัตถธรรมที่มี " ความมุ่งหมาย " Ž(เจตนา)ไปนิพพาน ก็ไม่มีปัญหาอะไร
            ถ้าเป็นแค่โลกียะดังว่านี้ แล้วจะแปล " อปุญญ " Žให้เป็นคำว่า " บาปŽ " อันเป็นคำตรงกันข้ามกับ " บุญ " Ž อาตมาก็ไม่ได้เห็นแปลกอะไรเลย ตามภูมิของผู้นี้ก็ถูกแล้ว
            คำว่า " บาปกับบุญŽ " ของคนผู้นี้ก็ปฏิบัติธรรมได้ " กุศล " Žที่เป็น " กุศล " Žแค่โลกีย์ ก็ได้ " บุญ " Žที่ไม่ใช่ " การชำระกิเลสŽ " ที่เป็นโลกุตระ มีมรรคผลไปสู่นิพพาน
            ส่วนอาตมานั้นมี " ความมุ่งหมาย " Ž(เจตนา) และยืนยันว่า  " อภิสังขาร ๓Ž " นี้ เป็น " อภิสังขาร " Žขั้นโลกุตระ มุ่งหมายชัดเจนว่า หมายเอา " ปรมัตถธรรมŽ " ที่ต้องถึงขั้นลดละกิเลส หรือชำระกิเลสกันให้ได้จริงๆ
             " กุศลŽ "   จึงเป็นความมุ่งหมาย(เจตนา)หรือความจงใจ(เจตนา)ที่อาตมาหมายนั้นคือ " บุญ " Žที่เป็นภาวะ " ชำระจิตสันดานให้หมดจดŽ " (สันตานัง  ปุนาติ วิโสเธติ) 
            และ " บาป " Žก็คือ " กิเลสŽ  " ที่ต้องชำระหรือกำจัดเจ้าตัวนี้ ให้มันสิ้นสุดถึงกิเลสอนุสัยคือสันดานในจิตจนหมดจด
            ดังนั้นคำว่า " อปุญญ " Žขั้นที่อาตมาหมายจึงไม่ใช่เพียง แปลกันแค่การกลับไปกลับมาของ " ภาวบาปกับภาวะบุญ " Ž วนไปวนมา ไม่หยุดความวนลงได้
             " ความวนของบุญๆ-บาปๆŽ "  หรือ " ความวนของกุศล-อกุศล " Žซึ่งยังเป็นขั้นโลกีย์ อันไม่พ้นจาก " วัฏฏะ " Žของ " บุญกับบาปŽ "  หรือไม่พ้นจาก " วัฏฏะของกุศลกับอกุศล "  ซึ่งเป็นภาวะที่ออกจาก " วัฏฏะŽ " ไม่ได้ ก็คงยังเป็น " โลก " Žที่หมายถึงความหมุนวนไม่รู้จบอยู่นั่นเอง
             " วัฏฏะŽ " ที่เป็น " ความวนเวียนไม่รู้จบ " Žนี่แหละ คือ " โลกŽ " คือ " โลกีย์ " Ž
            อาตมาหมายเอา " โลกุตระŽ "  ที่หมดสิ้น " วัฏฏะŽ " หมดสิ้น " ความวนเวียนŽ "
             " อปุญญ " Žที่อาตมาหมายจึงได้แก่ " การหมดสิ้นความวนเวียนไม่มีบาป และไม่มีบุญŽ " ด้วย บาปก็หมด  " การชำระบาปŽ " จึงไม่มีแล้ว หมดแล้ว
             " การต้องมีบุญ คือ มีการชำระกิเลสกันอีก " Ž ก็ไม่ต้องชำระŽกันอีกแล้ว
            นั่นคือ " ไม่ต้องชำระบาปหรือกิเลส " Žอีกแล้ว จึงพ้นทั้งบาป-พ้นทั้งบุญ
            ถ้าไม่ถึงขั้นเข้าสู่ " โลกุตรภูมิŽ " เพื่อไปสู่นิพพาน คือ " ทำบุญŽ " ไม่ถึงขั้น " ชำระกิเลส " Žจนกระทั่งหมด " ความวนที่ต้องชำระบาป-ต้องทำบุญ " Žอยู่ไม่จบ ก็ยังไม่ชื่อว่า " อภิสังขาร " Žที่เป็น " สังขารŽ " ขั้น " อภิ " Ž คือ อยู่เหนือ ยิ่งๆขึ้นไป ถึงขั้น   ปรมัตถธรรม  หรือธรรมะที่เป็นอาริยะ ยังไม่เข้าข่ายโลกุตระ
            ถ้า " กุศลŽ " นั้นยังยังไม่เป็นอาริยะที่เข้าถึงขั้น " ปรมัตถธรรม " Žที่เป็นโลกุตระ 
             " อภิสังขาร ๓ " Žของผู้นั้นก็ยังเป็นแค่ " โลกียภูมิŽ "
             " ปุญญาภิสังขาร-อปุญญาภิสังขาร " Ž แม้แต่ " อาเนญชาภิสังขาร " Žนั้นๆก็ยังไม่เข้าข่ายที่เรียกได้ว่า " บุญ " Žที่เป็น " กุศล " Ž(ความดีงาม)ตามอาตมามุ่งหมาย(เจตนา)
            ความสำคัญที่ขอตั้งข้อสังเกตให้เห็นชัดๆอีกประเด็น ก็คือ สังขาร(การจัดแจง) ที่ " ท่องเที่ยวอยู่ในแดนกามภพ " Ž(กามาวจร) นั่นก็หมายความว่า  " อภิสังขาร ๓ " Žนี้ ปฏิบัติในขณะที่มีตาหูจมูกลิ้นกายใจรับรู้ทั้งภายนอกภายในครบ
           " มิใช่ " หลับตาไม่รับรู้ทางภายนอก ๕ ทวาร
            ตามพระวัจนะที่ทรงยืนยันอยู่ชัดๆ จึงจะมีคุณธรรมขั้นอุตตริมนุสสธรรมที่มีคุณภาพยิ่งกว่าปกติสามัญเข้าข่าย " โลกุตระŽ "  
            และจะชี้ได้ว่า " กุศล " Žนั้นเข้าขั้น " บุญ " Žก็ต้องมีข้อตัดสิน นั่นคือ "  กุศล " Žนั้นต้องมีผล(อัตถิ)ถึงขั้น " ชำระกิเลส-ชำระจิตสันดานŽ "  
            ทำทาน ก็มีแต่จิตชำระโลภลดลงๆ มิใช่ทำทานก็มีแต่ " โล " Žมากขึ้นๆ
            ปฏิบัติศีล ก็ต้องลดอุปาทาน ไม่ใช่ยังเป็นแค่ " สีลัพพตุปาทานŽ " หนักขึ้นๆ
            ภาวนา คือ การเกิดผล ก็ได้แต่  " สัมมาผล " Ž มิใช่มีแต่ " โลกียกุศล " Žเป็นผล
          " ได้บุญ " Žนั้น ไม่ใช่แค่ " ได้โลกธรรมมาให้ตน " Ž แต่ได้ " ชำระจิตสันดาน หรือชำระกิเลสออกไป " Žต่างหาก จึงจะตรงตามศัพท์ที่ว่า " ปุญญ " Žหรือที่มาเป็นภาษาไทยว่า " บุญ " Žนี่เอง ซึ่งทุกวันนี้เข้าใจคำว่า " บุญ " Žเพี้ยนไปไกลกลายเป็น " โลกียผล " Žกัน
            คำว่า " บุญ " Žหรือ " กุศล " Žจึงไม่ใช่แค่เจริญด้วย " อามิส " Ž เป็น " โลกีย์Ž " อยู่เท่านั้น
            ดังนั้น " กุศลŽ " ที่เราจงใจ(เจตนา) ที่เรามุ่งหมาย(เจตนา)และสำเร็จด้วยทาน-ศีล-ภาวนา นั้น ทั้งที่ท่องเที่ยวไปในแดนกามภพ(กามาวจร) และท่องเที่ยวไปในแดนรูปภพ(รูปาวจร) ไม่ใช่หลับตาอยู่ในภวังค์ จึงเป็นการท่องเที่ยวไปก็ได้สัมผัสสัมพันธ์ " กามภพ-รูปภพ " Žไป พร้อมกับ " ชำระจิตสันดานของตนไป " Ž เมื่อชำระได้ก็ " ได้บุญ " Žไปตามลำดับสู่จุดมุ่งหมายคือ  " โลกุตรภูมิŽ  "
            หมายความว่า ปฏิบัติธรรมแบบลืมตาปกติในชีวิตสามัญ ตามแบบพุทธ ที่สัมมาทิฏฐิ ทั้งทาน ทั้งศีล ทั้งภาวนา ล้วน " โยนิโสมนสิการŽ " บริบูรณ์ คือ ทำใจในใจได้ถูกต้องตามหลัก " ปฏิจจสมุปบาท " Ž ตามหลัก " มรรค อันมีองค์ ๘Ž " ที่เป็น  " สัมมาสมาธิ "  คือมี " สัมมามรรค-สัมมาผล " Ž ซึ่งต่างจาก " ลกียมรรค-โลกียผล " Ž ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๕๒-๒๘๑  " มหาจัตตารีสกสูตรŽ "  
            เพราะไม่ใช่ปฏิบัติแบบนั่งหลับตาทำ " สมาธิ " Žที่ไม่ได้ดำเนินตาม " มรรค ๗ องค์Ž " ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน " มหาจัตตารีสกสูตร " Ž     
            จึงได้ " สมาธิŽ " กันคนละอย่าง หรือสำเร็จ " อธิจิตสิก " ขาŽไม่เหมือนกัน
             " บุญ " จึงได้คนละชนิด หรือ " ปุญญาภิสังขารŽ " ได้ผลกันคนละแบบ
            สรุปก็คือ  " ปุญญาภิสังขาร " Žแบบหนึ่งเป็นโลกียะ อีกแบบหนึ่งนั้นเป็นโลกุตระ
          โลกียะ กับ โลกุตระ คือ โลกทั้ง ๒ โลก แต่เป็น " โลก " Žคนละแบบ
            ผู้บรรลุ " โลกุตระŽ " รู้จักรู้แจ้งรู้จริง " โลกียะ " Žดี เพราะเคยอยู่ " โลกียะ " Žมาแล้วทุกคน ครั้นได้เรียนพุทธธรรมที่ " สัมมาทิฏฐิ " Ž และสามารถปฏิบัติจนหลุดพ้นออกไปอยู่ใน " โลกุตระŽ " ได้แล้ว จึงเป็นผู้รู้จักรู้แจ้งรู้จริง " โลกทั้ง ๒ โลก " Ž
            ส่วนผู้อยู่ใน " โลกียะŽ " ยังไม่พ้น " โลกียะ " Žออกไปจาก " โลกียะŽ " ไม่ได้ ก็ไม่สามารถจะรู้จักรู้แจ้งรู้จริง " โลกุตระŽ " ได้  นอกจาก " เดาŽ " หรือคาดคะเนเอา 
            พระพุทธเจ้าทรงเรียก " โลก " Žอันเป็น " โลกียะŽ " ที่มีคนปุถุชนอยู่อาศัยเป็นโลก
ของคนทั่วไปสามัญทั้งหลายในจักรวาลนี้ ว่า  " อยังโลกŽ "
             " อยังโลก " Žหรือ " โลกียะ "  ที่รู้กันทั่วไปคือ  " โลกนี้Ž  "
            ส่วน " ปรโลก " Žที่เรียกกันว่า " โลกหน้า-โลกอื่น " Žพระองค์ทรงเรียกว่า โลกุตระ  
            ซึ่งเป็น " โลก " Žที่พระองค์ทรงค้นพบใหม่ เป็น " โลก " Žอีกแบบหนึ่ง ที่ต้องศึกษาให้สัมมาทิฏฐิŽจริงๆจึงจะปฏิบัติกระทั่ง " ทำใจในใจ " Ž(มนสิกโรติ)ของตนหรือทำ " อภิสังขารŽมโนกรรมของตน " จน " เกิดŽ " สำเร็จได้(กรรมโยนิ)
             " จิตใจŽ " ของตนก็ " เกิด " Žเป็น " คนโลกใหม่ " Ž(ปรโลก)หรือ " โลกอื่นŽ " (ปรโลก)หรือ " โลกหน้า " Ž(ปรโลก) ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบได้
             " ปรโลก " Žของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้ และทรงเรียกว่า  " โลกุตระŽ "  ซึ่ง " ใจเกิด " Ž ไม่ใช่ "กายเกิดŽ  " และ " เกิด " Žในขณะที่มีชีวิตเป็นๆ ลืมตาโพลงๆนี้แหละ
          พ่อครูอธิบายแทรกว่า
ที่คุณ0850556xxx ว่าถ้าไม่ใช่วิญญานแล่นไปท่องเที่ยวไปแล้วมันคืออีหยังทิ่แล่นโปท่องเที่ยวไป
          พ่อครูว่า พระพุทธเจ้าท่านบริภาษภิกษุสาติว่า อย่าไปพูดอย่าไปคิดว่าวิญญาณท่องเที่ยวไปอย่างนั้น พวกที่คิดอย่างนั้นเป็นเทวนิยม ไม่ใช่ธรรมะปัจจุบันธรรม ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ แต่ให้เรียนรู้วิญญาณที่เกิดในขณะมีผัสสะทางทวาร ๖  ท่านตรัสไว้ในวิภังคสูตร แม้ขั้นอรูปาวจรก็ยังต้องลืมตาปฏิบัติล้าง รูปาวจร อรูปาวจร ยังมีสัมผัสครบ ๖ ทวารเลย ไม่ได้ไปจับวิญญาณล่องลอย เราไปจับไม่ได้ เพราะเอกจรัง ไปเดี่ยวๆไม่เกี่ยวกับใคร ถ้าไม่มีโลกที่มีตาหูจมูกลิ้นกายใจ ก็ไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้ เหมือนคุณนอนฝันหรือสลบไปก็ไม่สามารถทำอะไรได้เลย ก็ไปตามวิบาก แม้จะมีจิตระลึกได้ก็ได้ระดับหนึ่ง ถ้ามีอนุสัยกิเลสมันก็ตื่นมาเล่นงานคุณแน่ถ้ามีทวาร ๖ ก็กลบเกลื่อนไปได้
          ในตอนเป็นๆสะกดจิตก็ได้ไปนานเท่าที่สะกดได้ แต่ก็ต้องตื่นมารับรู้อยู่ดี อย่างฤาษีตื่นมาก็ต้องกินต้องอยู่ต้องมาอยู่กับผัสสะอยู่ดี
          พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัยมิได้มี
          ภิกษุสาติ  มีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า "เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น
          ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้องภิกษุสาติจากทิฏฐินั้น  จึงซักไซ้ ไล่เลียงสอบสวนว่า  ท่านอย่ากล่าวอย่างนี้  ท่านอย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค  การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาค ไม่ดีเลย เพราะพระผู้มีพระภาคมิได้ตรัสอย่างนี้เลย  ดูกรท่านสาติ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วโดยปริยายเป็นอเนก ความเกิดแห่งวิญญาณเว้นจากปัจจัยมิได้มี.  (มหาตัณหาสังขยสูตร พตปฎ. ล.๑๒  ข.๔๔๐)
          พอตายแล้ววิญญาณเกิดไม่ได้ ไม่มีตาหูจมูกลิ้นกายสัมผัส มันจะจมอยู่กับภวังค์เท่านั้น คุณต้องอาศัยสัญญาหรือความจำ ซึ่งเป็นของแห้ง และคุณเองก็ไม่เก่งที่จะเอาสัญญามาใช้ได้ เพราะไม่ได้เรียนรู้ดับโลกมาตั้งแต่ กามโลก รูปโลก อรูปโลก คุณตายไปก็ต้องดิ้นรน จะไม่รู้ตัวว่าตนเป็นใครลึกซึ้ง อย่างฝันก็แค่รู้ว่าอยากอะไร ดิ้นไปหาสิ่งที่อยากได้อยากมีอยากเป็น ตอนตายคุณจะไม่มีเวลา อเวจีไม่มีเวลาให้คุณดู ไม่รู้ว่าจะจมนานขนาดไหน ตอนหลับมีผีอำคุณก็ดิ้นรนออกมาให้ได้ทางทวาร ๖ แต่ว่าตายไปดิ้นไปก็ไม่ออกมา ก็จะทรมาน เป็นผีอำอยู่ตลอดกาลนานเท่าที่มีวิบาก
          ตัวเป็นๆมีนรกสวรรค์แล้ว แต่ตอนตายเป็นนรกไม่มีทางออกเลย จะจมอยู่กี่กัปกี่กัลป์เท่าที่ตนยึดถือ เหมือนคนดื้อดันทุรังตอนเป็นๆก็อย่างนั้นแหละ แต่ตอนตายจะดื้อดันทุรังมากกว่าไม่รู้กี่เท่า น่ากลัว
             " ใจ " Žเท่านั้น " เกิด " Ž โดยเราได้ " ทำใจ " Žที่เป็ " อกุศลจิต " Žของเราส่วนหนึ่ง
ตายลง ดับสนิทไป(นิโรธ)  " ใจ " Žของเราได้ " ชำระจิตสันดาน " นั้นออกŽ ใจใหม่ก็เกิด
            เกิดใน " กายŽ " ที่ยังมีชีวิตเป็นๆนี่เอง เป็น " การเกิดทางใจ " Ž(โอปปาติกโยนิ)
             " ปรโลกŽ " ของพระพุทธเจ้านี้สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง " สันทิฏฐิโกŽ "  ในขณะมีร่างกายและใจที่มีชีวิตเป็นๆ นี้เอง  " โดยตนเอง " Ž(เอโก)
            "ปรโลกŽ"ของพระพุทธเจ้าจึงสามารถรู้แจ้งเห็นจริงเป็นจริงได้ในขณะที่มีชีวิตเป็นๆ ถ้าศึกษา " สัมมาทิฏฐิŽ " และมี " สัมมาปฏิบัติจนกระทั่งบรรลุการเกิด-การดับ " Ž
ของรูปนามในจิตใจ หรือปฏิบัติทำ " การเกิด-การดับ " Žจนเข้าขั้น " จิต-เจตสิก-รูป-นิพพาน " ที่เป็น " ปรมัตถธรรม "  ดังกล่าวมานี้ได้มรรคผลจริง
            เมื่อปฏิบัติจนเกิดผลรู้แจ้งความเป็น " โลกุตระ " Žนั้นได้ในตนแล้วก็เป็น " ความรู้แจ้งŽ " ได้ด้วยตนเอง ของตนเอง เป็นเช่นนั้นเอง(ตถตา=เช่นที่พระพุทธเจ้าทรงเป็น) 
            ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิตแท้ๆ ที่พิสูจน์ " โลกุตระŽ " นี้ได้จริงๆ
            เพราะรู้แจ้ง " โลกียะ " Žหรือโลกของคนทั้งหลายที่เป็นแดนแห่งจิตใจอาศัยอยู่ แล้วก็วนหมุนžอยู่กับสุขกับทุกข์แบบสามัญปุถุชนŽ ซึ่งเป็นกันอยู่ทั่วทั้งโลก
            แล้วได้ศึกษาทั้งปฏิบัติจนกระทั่งบรรลุ " ความจริง " Ž สำเร็จจริง ว่า
            " โลกียะ " Žนั้นคือ  " สังขาร " Žของคนที่ยัง " อวิชชาŽ " อยู่จริงๆ เพราะหลง " ยึด " Ž ว่า เป็น " รสสุข " Žที่ผู้ติดยึดต้องได้ ต้องมี ต้องเป็น ต้องเสพเป็นสวรรค์Ž(โลกียสุข)
จึงยังมี " นรก " Ž(ทุกข์)อยู่แท้จริง
            เพราะ " สวรรค์กับนรกŽ " นั้นเป็นธรรมชาติคู่ เป็นภาวะคู่ ถ้ายังมีอย่างหนึ่ง ก็ต้องมีอีกอย่างหนึ่ง ถ้าไม่มีอย่างหนึ่งอย่างใด อีกอย่างหนึ่งอย่างใดก็ไม่มี
            คนผู้ยัง " อวิชชาŽ " จะเชื่อว่า  " สวรรค์หรืออารมณ์สุขŽ " อย่างที่คนทั้งหลายหลงยึดว่าจริง ที่ต้องเสพนั้น หมดไปจากจิตใจไม่ได้ ถือว่าขาดธรรมชาติ(สุข)อย่างนี้ไปจากจิตใจคนไม่ได้ ต้องมี ยังไงๆคนก็ต้องมี " อารมณ์สุข " Ž
            คนที่หลงมากติดมากจึงหลง " ปรุงแต่ง (สังขาร)อารมณ์สุขอย่างนั้นอย่างนี้ให้ตนเสพ " Žอยู่เสมอ ไม่ปรุงอย่างใด ก็หาเรื่องปรุงอย่างหนึ่งอยู่ตลอด
            คน " อวิชชา " Žจึงหลงใน " สังขาร " Žอย่างงมงายเละเทะเลอะเทอะหาที่สุดมิได้
            สุขมันไม่มีอยู่ตลอดเวลา คนก็รู้ มันมีอย่างนั้น แล้วก็ไปมีอย่างนี้ สุขอย่างนี้หยุดไปไม่มีระยะใดระยะหนึ่งก็จริง ไม่มีอารมณ์สุขชั่วคราว..ได้ พักชั่วคราว..ได้ แต่ขาดสูญ " อารมณ์สุข " Žอย่างที่เคยมีนี้ไปจากจิตใจคนตลอดกาลไม่ได้ ยิ่งอารมณ์สุขที่ตนเสพติด ยิ่งขาดไม่ได้ คนต้องมี " สุข " Ž(โลกียสุข) ไม่เชื่อว่า " สุข " Žจะสูญสิ้นไปได้
            ถ้าคน " ไม่มีสุข" Žก็จะไม่ปกติ  ไม่เหมือนคนทั้งหลาย หนะสิ 
            เมื่อผู้ศึกษาและได้ปฏิบัติจนกระทั่งมี " การชำระกิเลส " Žหรือ " ชำระจิตสันดานให้หมดจด " Žได้จริง จึงจะเชื่อสนิทว่า  " โลกที่ยังหลงสุขอยู่Ž " นั้น ก็ต้องมี " ทุกข์ " Žอยู่
          สัมผัสจริงๆมันสุข แต่เมื่อไม่ได้สัมผัส มันก็มีแต่ความจำ ไม่ใช่ความจริง มันลวงเรา ต้องชัดเจนว่ามันไม่ใช่สุขจริง ถ้าสุขจริงมันต้องอยู่ตลอดสิ
            โลก..โลกียะ จึง " ดับสุขดับทุกข์สนิท " Žไม่ได้
            ส่วนโลก..โลกุตระนั้น  " ดับสุข-ดับทุกข์ " Žได้สนิทจริง    
            ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่แยก " โลก " Ž ๒ โลกนี้ได้ และพาคนให้ปฏิบัติจนเลิกเป็นคน " โลกียะ"  กลายเป็นคนโลกใหม่คือ " โลกุตระ " Žโดยไม่ต้องกลับมาเป็นคน " โลกียะ " Ž เป็นคนผู้ " ไม่ทุกข์ไม่สุข " Ž(อทุกขมสุข)อีกเลยได้อย่างแท้จริงสัมบูรณ์ (โปรดติดตามตอนต่อไป)
          อ.กฤษฎา สรุป สิ่งที่พ่อครูอธิบายเป็นการอธิบายปฏิจจสมุปบาทอย่างลงรายละเอียด โดยเฉพาะเรื่องการสังขาร ที่มีสังขาร ๓ ที่เป็นกระบวนการเกิดทุกข์ เราเรียนรู้ไปเพื่อให้พ้นทุกข์ ในขณะเป็นๆ สูงสุดถึงนิพพาน ซึ่งต้องมีวิธีการปฏิบัติ โดยการมีปุญญาภิสังขาร ที่ประกอบจากกุศลเจตนา วันนี้เราชัดเจนว่า ถ้าเป็นกุศลที่เป็นบุญ ก็คือเครื่องชำระจิตสันดานให้ได้ เป็นสภาวะปรมัตถธรรม จะสำเร็จได้ด้วยการทำทานอย่างชำระความโลภ ทำศีลที่สัมมาปฏิบัติไปสู่ ภาวนาที่เป็นผลโลกุตระ...........จบ

ไม่มีความคิดเห็น: