รายการสงครามสังคมธรรมะการเมือง โดยพ่อครู เมื่อวันที่ ๒๖ มี.ค.๒๕๕๖
เรื่อง อภิสังขารชำระจิตสันดานสู่นิพพานพุทธ ตอน ๒
พ่อครูออกรายการที่บ้านราชฯ ได้พูดถึงมีผู้ส่ง sms มาในรายการเมื่อวานแย้งมาว่า
0850556xxx ใครสอนพท.ว่า รูป คือสิ่งทิ่ถูกรู้ โดดน้ำเก่งจริงๆ
ขอบคุณแม่มูล
ใครสอนพ่อท่านก็มีแต่พระพุทธเจ้าสอนเท่านั้นแหละ
ก็เห็นใจ ที่เขาไม่เข้าใจว่า รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ นี่คือความรู้ที่พ่อครูมี
ภูมิปัญญาของผู้รู้เขาก็รู้กัน ก็ให้ใช้ปัญญาพิจารณาดีๆ คนติดแต่ภาษาก็จะไม่เข้าใจสภาวะได้
0850556xxx ใครสอนพท.ว่าทำทานแล้วได้บุญได้กุศล ได้ผลได้อานิสงส์ต่างหาก
ดูพตฏ.สิ
ก็ไปติดแต่พยัญชนะเช่นกัน
แต่ก็ยังมีกุศลเจตนามาว่า
0850556xxx ถึงจะมั่วก็มั่วแต่หัวโจก
ชาวอโศกทั้งหลายไม่มั่วเด้อ
0888705xxx คนด่าทักษิณเพราะทักษิณโจมตีในหลวง..คนด่าพธร.เพราะพธร.โจมตีคณะสงฆ์!
ความจริงแล้วพ่อครูไม่ได้โจมตีคณะสงฆ์
แต่ว่า พ่อครูนิคคันเห นิคคาหารหัง ตำหนิสิ่งที่ควรติ
และพูดสิ่งที่จริงไปแล้วมันเจอเขาเต็มบ้องเลย อย่าไปเปรียบเทียบกับในหลวง พ่อครูพูดนี่ไม่ได้แก้ตัวพูดจริงใจ
สงครามสังคมฯ ณ บ้านราชฯ
อั. ๒๖ มี.ค. ๒๕๕๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะโรง เริ่ม 18:02 น.
ตอน.. "อภิสังขารชำระจิตสันดานให้ถึงนิพพาน ตอนที่๒"
อั. ๒๖ มี.ค. ๒๕๕๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะโรง เริ่ม 18:02 น.
ตอน.. "อภิสังขารชำระจิตสันดานให้ถึงนิพพาน ตอนที่๒"
0888705xxx อปุญญาภิสังขาร=อกุศลเจตนาชัดๆอยู่แล้ว
แต่เดียถีก็ยังรั้นแปลเป็นโลกุตระ
ในพยัญชนะเป็นเช่นนั้นจริง พระพุทธเจ้าว่า
อกุศลเจตนา กามาวจรา เป็นพยัญชนะอย่างคุณว่าจริง แต่ว่าให้ฟังที่พ่อครูขยายความต่อไป
จะได้รู้ว่าพ่อครูรั้นหรือพยายามแจกแจงสิ่งดี
0888705xxx สังขาร3มีผลเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร
ไม่เห็นว่าจะมีผลเป็นโลกุตระเลย
ก็ใช่คนไม่เห็นก็ต้องไม่เห็น
แต่คนเห็นก็จะเห็นเป็นโลกุตระ พ่อครูขอยืนยันว่าเข้าใจถูก ที่แย้งมาก็ดี
ทำให้เรามีประเด็นที่น่าคิดว่า เราจะถูกหรือผิด
พ่อครูได้พูดมาจากเมื่อวานนี้ถึงที่ว่า
คนผู้ยัง " อวิชชา " จะเชื่อว่า
" สวรรค์หรืออารมณ์สุข " อย่างที่คนทั้งหลายหลงยึดว่าจริง
ที่ต้องเสพนั้น หมดไปจากจิตใจไม่ได้
ถือว่าขาดธรรมชาติ(สุข)อย่างนี้ไปจากจิตใจคนไม่ได้ ต้องมี ยังไงๆคนก็ต้องมี " อารมณ์สุข "
พ่อครูเคยได้รับคำแย้งจากชาวต่างชาติว่า
ทำไมศาสนาพุทธสอนให้ลดกาม มันควรจะให้มีสุขมีกามไปสิ มันเป็นธรรมชาติของคน
ซึ่งเขาเข้าใจไม่ได้จริงๆ
คนที่หลงมากติดมากจึงหลง " ปรุงแต่ง (สังขาร)อารมณ์สุขอย่างนั้นอย่างนี้ให้ตนเสพ
" อยู่เสมอ ไม่ปรุงอย่างใด
ก็หาเรื่องปรุงอย่างหนึ่งอยู่ตลอด
คน " อวิชชา " จึงหลงใน " สังขาร " อย่างงมงายเละเทะเลอะเทอะหาที่สุดมิได้
สุขมันไม่มีอยู่ตลอดเวลา คนก็รู้
มันมีอย่างนั้น แล้วก็ไปมีอย่างนี้ สุขอย่างนี้หยุดไปไม่มีระยะใดระยะหนึ่งก็จริง
ไม่มีอารมณ์สุขชั่วคราว..ได้ พักชั่วคราว..ได้ แต่ขาดสูญ " อารมณ์สุข " อย่างที่เคยมีนี้ไปจากจิตใจคนตลอดกาลไม่ได้
ยิ่งอารมณ์สุขที่ตนเสพติด ยิ่งขาดไม่ได้ คนต้องมี " สุข " (โลกียสุข)
ไม่เชื่อว่า
" สุข " จะสูญสิ้นไปได้
ถ้าคน
" ไม่มีสุข" ก็จะไม่ปกติ ไม่เหมือนคนทั้งหลาย หนะสิ
เมื่อผู้ศึกษาและได้ปฏิบัติจนกระทั่งมี
" การชำระกิเลส " หรือ " ชำระจิตสันดานให้หมดจด
" ได้จริง จึงจะเชื่อสนิทว่า " โลกที่ยังหลงสุขอยู่ "
นั้น ก็ต้องมี " ทุกข์ " อยู่
สัมผัสจริงๆมันสุข แต่เมื่อไม่ได้สัมผัส มันก็มีแต่ความจำ
ไม่ใช่ความจริง มันลวงเรา ต้องชัดเจนว่ามันไม่ใช่สุขจริง
ถ้าสุขจริงมันต้องอยู่ตลอดสิ
โลก..โลกียะ จึง
" ดับสุขดับทุกข์สนิท " ไม่ได้
ส่วนโลก..โลกุตระนั้น
" ดับสุข-ดับทุกข์ " ได้สนิทจริง
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่แยก
" โลก " ๒ โลกนี้ได้ และพาคนให้ปฏิบัติจนเลิกเป็นคน
" โลกียะ"
กลายเป็นคนโลกใหม่คือ " โลกุตระ " โดยไม่ต้องกลับมาเป็นคน
" โลกียะ " เป็นคนผู้ " ไม่ทุกข์ไม่สุข "
(อทุกขมสุข)อีกเลยได้อย่างแท้จริงสัมบูรณ์
เพราะได้เรียนรู้ฝึกฝน
" สติปัฏฐาน ๔ " รู้ชัด
" เวทนาในเวทนา " กระทั่งรู้จักรู้แจ้งรู้จริง " มโนปวิจาร
๑๘-๓๖ " และปฏิบัติจนบรรลุ " เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา
" อย่างสัมผัสภาวะจริง และสามารถทำให้
" เวทนา " ของตนเป็น " อุเบกขา " หรือ "
อทุกขมสุข " ได้เที่ยงแท้(นิจจัง)ยั่งยืน(ธุวัง)ตลอดกาล(สัสสตัง)จริง
เป็นต้น
เพราะ "ดับโลกนั้น"(โลกียะ)แล้วจริง
เพราะ"ในจิตไม่มีโลกนั้น"(โลกียะ)แล้วจริง
เพราะ"จิตใจไม่ต้องอาศัยโลกนั้น"(โลกียะ)แล้วจริง
พระพุทธเจ้าคือผู้ค้นพบ
เป็นเจ้าของทฤษฎี หรือเป็นเจ้าของ"ทิฏฐิ"
ดังนั้น ถ้าผู้ใดไม่สามารถเข้าใจ"ทฤษฎี"หรือ"ทิฏฐิ"ของพระพุทธเจ้าถูกต้องถ่องแท้
ก็แน่นอนว่า
ย่อมจะเข้าสู่"โลก"ที่เป็น"โลกุตระ"ไม่ได้
แต่ก็มีคนหลงผิดมากมายเหลือเกิน
หลงไปยึดเอา"โลก"ที่ไม่ใช่"โลกุตระ"
ตรงตาม"โลกุตระ"ของพระพุทธองค์
ว่า เป็น"โลกุตระ"
"โลก"ที่เรียกว่า"โลกุตระ"นี้
เป็น"โลก"ซึ่งหมายถึง"แดนที่จิตใจอาศัยอยู่"เหมือนกัน
ตราบที่ยังไม่ดับขันธ์สุดสิ้นปรินิพพาน ก็อาศัย"จิตใจที่ได้ชำระจิตสันดานจนหมดจด
หมดสิ้นอนุสัย"นั้นแล เป็นอยู่ ดำเนินชีวิตไป
เป็นอรหันต์ที่ยังมีชีวิต
เพราะได้ศึกษา"ปฏิบัติปุญญาภิสังขาร"จนกระทั่งบรรลุ"อปุญญาภิสังขาร"
ดังนั้น"อภิสังขาร"ตัวต่อมา
ที่ว่า อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
ตามพระไตรปิฎก ท่านก็แปลไว้ว่า "อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร
นี้เรียกว่า
อปุญญาภิสังขาร"
อภิสังขารบทนี้
คำตรัสมีสั้นนิดเดียวเท่านี้ แต่ลึกซึ้งสุดวิเศษ เป็นโลกุตระ
ที่ต้องมีสภาวะของปรมัตถธรรมกันอย่างสำคัญจึงจะแยกโลกียะ แยกโลกุตระได้จริง
ผู้ยังไม่มีปรมัตถ์ก็เข้าใจอยู่แต่ในมิติโลกีย์
คือ ยังวนอยู่ในโลกเดิม คือโลกของปุถุชน
วนในกุศลกับอกุศล ซึ่งวนไปวนมา สุขๆ-ทุกข์ๆ ทุกข์ๆ-สุขๆ ต่ำแล้วก็สูง
สูงแล้วก็ต่ำอยู่ในโลกีย์เดิม เช่น เป็นอบายชนหรือปุถุชน แล้วเมื่อทำกุศลก็ดี
ก็ได้แค่กุศลที่เป็นกัลยาณชน ซึ่งก็ไม่พ้นภาวะไตรลักษณ์
เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป แล้วก็วนมาเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป อีก ตามสามัญลักษณ์
เพราะยังไม่สามารถมีปัจจัตตลักษณ์ตามทฤษฎีของโลกุตระ
ดังนั้น ในโลกียะ
จึงต้องตกต่ำกลับไปสู่อบายอีก อยู่ในโลกของปุถุชนโลกีย์
วนไปวนมาไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง วนแล้ววนเล่า สูงแล้วก็ต่ำ ต่ำแล้วก็สูงอยู่เท่านั้น
เป็นความวนอยู่ในโลกโลกีย์สามัญที่เป็นโลกปุถุชน
เรื่องของความเป็นโลกพระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องโลกครบพร้อมทั้งโลกที่เรียกว่าโลกีย์
และโลกที่เรียกว่าโลกุตระ จึงเรียกว่าเป็นผู้รู้แจ้งโลกคือ โลกวิทู
ผู้ไม่เข้าใจหรือไม่รู้จักความเป็นภูมิโลกุตระย่อมไม่มีทางที่จะเดินเข้าสู่
โลกที่เป็นโลกุตรภูมิได้แน่ๆ
ไม่สามารถสูงขึ้นสู่โลกใหม่-โลกอื่น(ปรโลก)
อัน คงวนเวียนอยู่ในโลกเก่า(อยังโลก) ออกนอกโลกเก่าไปไม่ได้
ไม่สามารถสูงเลื่อนชั้นขึ้นสู่ชั้นภูมิที่สูงยิ่งขึ้น
ที่เป็นสภาพหมุนรอบเชิงซ้อน(คัมภีราวภาโส)ที่ซับซ้อน สูงขึ้นๆจริง ไม่ใช่วนไปมาต่ำ-สูงอยู่
ไม่อาจล่วงพ้น(สมติกฺกม ชั้นโลกีย์ที่หมุนวนไปได้ จึงเป็นเรื่องที่เห็นตามได้ยาก(ทุทฺทส)
รู้ตามได้ยาก(ทุรนุโพธา)จริงๆ
อกุศลเจตนา เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า
อปุญญาภิสังขาร
ซึ่งพระบาลีก็คือ อกุสลา เจตนา
กามาวจรา อยํ วุจฺจติ อปุญฺาภิสงฺขาโร
ก็อีกแหละ
ตามภูมิอาตมาซึ่งจะเอาสภาวะธรรมที่อาตมามีเป็นหลัก ก็เข้าใจได้ว่า อกุศล
นั้นคำหนึ่ง เจตนา นั้นอีกคำหนึ่ง ที่มีในประโยคนี้ ให้ความหมายอยู่ชัด
ดังนั้น อปุญญาภิสังขาร
จึงหมายความว่า ความจงใจ(เจตนา) ปฏิบัติตนให้เกิดความดีงามถูกต้อง(กุศล) ที่ท่องเที่ยวไปในแดนกามภพ(กามาวจร)
และแน่นอน ต้องสำเร็จได้ด้วยทาน สำเร็จได้ด้วยศีล สำเร็จได้ด้วยภาวนา
ซึ่งต้องเข้าใจทาน-ศีล-ภาวนาอย่างสัมมาทิฏฐิแท้จริงเป็นสำคัญ จึงจะสามารถได้บุญ
คือ ได้ชำระจิตสันดานหรือชำระกิเลส สะอาดผ่องใส จนกระทั่งไม่ต้องชำระจิตสันดานนั้นอีกแล้ว
เพราะอกุศลเป็นเจตนาหรือตามที่จงใจหรือมุ่งหมาย ได้ทำสำเร็จลง
อภิสังขารนี้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ต้องทำบุญอีก เป็นอปุญญแล้ว
ในกามาวจร
หรือท่องเที่ยวไปในแดนกามภพ(กามาวจร)นั้นเอง บัดนี้เป็นอปุญญาภิสังขารแล้ว
ไม่ต้องชำระกิเลสกันอีกแล้ว(อปุญญา)
"อปุญญาภิสังขาร"
จึงเป็น"อภิสังขาร"ที่อบุญหรืออปุญญแล้ว..ไง!
อ คือ ไม่
จะแปลอบุญหรืออปุญญว่าไม่ใช่บุญแล้ว-ไม่เป็นบุญแล้ว-ไม่มีบุญแล้วก็ได้ทั้งนั้น
ภาวะแห่งสัจจะเป็นอย่างเดียวกัน
แต่ถ้าท่านใดจะแปลอบุญหรืออปุญญนี้ว่า
บาป
เพราะเมื่อมันไม่ใช่บุญมันก็ต้องวนกลับไปเป็นบาปเท่านั้นอย่างนั้น
นั่นคือ การแปลวนอยู่ในความวนบาป-บุญอยู่
ในโลกเดิมหรือวงวนเดิม วนไป-วนมา ก็อยู่ในโลกเก่า-ภพเดิม ก็อยู่ในโลกเดิมคงเดิม
ไม่ได้ออกไปจากโลกหรือภพนั้น ไปสู่โลกใหม่ คือ อยู่ในโลกียภูมิตามเดิม
ก็ไม่มีปัญหานี่
อาตมาก็เข้าใจตามที่ท่านหมาย(สัญญา)หรือมุ่งหมาย(เจตนา)
แต่อาตมาหมาย(สัญญา)หรือมุ่งหมาย(เจตนา)นั้น
ท่านก็คงเข้าใจความมุ่งหมายหรือการสำคัญมั่นหมาย(สัญญา)ของอาตมา..นะ
อาตมาเห็นจริงอย่างนี้และทำได้อย่างนี้
จึงแปลตามที่มีจริงเป็นจริงของอาตมา
ส่วนท่านก็เห็นจริงเป็นจริงตามที่ท่านเป็นและมุ่งหมาย
ก็แตกต่างกันตรงนี้
ดังนั้น"อภิสังขาร"ตัวต่อมา
ที่ว่า อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน ก็มากันศึกษาต่อ
ตามพระไตรปิฎก ท่านก็แปลไว้ว่า "อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร"
นี้เรียกว่า "อปุญญาภิสังขาร"
คำตรัสนี้มีคำว่า "อกุศล"และ
"กามาวจร"ชัดๆ
(ไม่ใช่คำว่ากามภพนะ)
คำ ๒ คำนี้จะบ่งชี้ได้ว่า
ความเข้าใจของใคร จะอยู่ในภูมิไหน? ภพไหน? ก็จะอธิบายความจริงของตนอย่างใดอย่างนั้น
ตั้งใจศึกษาดีๆ
"อภิสังขาร"บทนี้
คำตรัสมีสั้นนิดเดียว แต่ลึกซึ้งสุดวิเศษ เป็นโลกุตระ ที่ต้องมีสภาวะของปรมัตถธรรมกันอย่างสำคัญจึงจะแยกโลกียะ แยกโลกุตระได้จริง
ผู้ยังไม่มีปรมัตถ์ก็เข้าใจอยู่แต่ในมิติโลกีย์
คือ ยังวนอยู่ใน"โลกเดิม"
คือ"โลกของปุถุชน"
วนใน"กุศล"กับ"อกุศล"
ซึ่งวนไปวนมา สุขๆ-ทุกข์ๆ ทุกข์ๆ-สุขๆ ต่ำแล้วก็สูง
สูงแล้วก็ต่ำอยู่ในโลกีย์เดิม เช่น เป็นคนขึ้นสูงหรือคนตกต่ำ
ก็อยู่ในโลกเดิม คือ โลกีย์
เมื่อทำกุศลก็ดี ก็ได้แค่ "กุศลที่เป็นกัลยาณชน
"
ซึ่งก็ไม่พ้นภาวะไตรลักษณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งอยู่
แล้วก็ดับไป แล้วก็วนมาเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป อีก ตาม"สามัญลักษณ์"(ลักษณะที่เป็นของปุถุชนสามัญคนทั่วไป)
เพราะยังไม่สามารถมี"ปัจจัตตลักษณ์"(ลักษณะที่ได้บรรลุเฉพาะตนเป็นวิสามัญ
เป็นของพุทธโดยเฉพาะ)ตามทฤษฎีของ"โลกุตระ"
ที่เป็นไตรลักษณ์ "เกิดขึ้น"แล้ว
ก็ตั้งอยู่อย่าง"อาเนญชา"
หรือ"เกิดขึ้น"แล้วก็"ตั้งอยู่"อย่างพิเศษ
คือ "ความเกิดขึ้น"นั้นไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม
และมีแต่ถาวร,มั่นคง,ยั่งยืน
ส่วน"ความดับ"ไป
ก็ดับไปอย่าง"ถาวร,ยั่งยืน,ตลอดไป"
ไม่วนไปวนมา"เกิดขึ้นใหม่"อีก
ดับไปแล้วไปเลย พ้นไปสู่ที่สูง แล้วก็มีแต่จะสูงขึ้นๆ ไม่วนลงมาหาต่ำ
ดังนั้น ในโลกียะ
จึงต้องมีการตกต่ำกลับไปสู่อบายอีก อยู่ในโลกของปุถุชนโลกีย์
วนไปวนมาไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง วนแล้ววนเล่า สูงแล้วก็ต่ำ ต่ำแล้วก็สูงอยู่เท่านั้น
เป็น"ความวน"อยู่ในโลกโลกีย์สามัญที่เป็นโลก"ปุถุชน"
เรื่องของความเป็นโลกพระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องโลกครบพร้อมทั้งโลกที่
เรียกว่าโลกีย์
และโลกที่เรียกว่าโลกุตระ จึงเรียกว่าเป็นผู้รู้แจ้งโลกคือ
โลกวิทู
ผู้รู้แจ้งโลกโลกียะโลกโลกุตระฉะนี้
ชื่อว่าผู้รู้โลกโลกวิทู รู้จักรู้แจ้งรู้จริงเทวดามารพรหม รู้โลกทั้ง ๒ โลก
ทั้งโลกนี้(อยังโลก) และทั้งโลกหน้า(ปรโลก)
เพราะรู้จักรู้แจ้งจิตวิญญาณที่เป็นมารในตน
แล้วกำจัดจิตวิญญาณที่เป็นมารของตน มารตาย จิตวิญญาณของผู้นั้นก็เกิดใหม่เป็นเทวดา(อุบัติเทพ)ถ้าชำระจิตสันดานของตน(ทำบุญ)จนกระทั่งสะอาดหมดจดจึงเป็นพรหม(วิสุทธิเทพ)
"พรหม"แบบทฤษฎีพุทธ
หมดตัวตน เพราะ"ตัวตน"ถูกชำระกำจัดไปหมดสิ้น
ไม่มี"ตัวตน"
ตัวตนหมดสิ้นสะอาด การยึด"ตัวพรหม"จึงไม่มีตัวตนให้ยึด
ส่วน"พรหม"แบบทฤษฎีแบบไม่ใช่พุทธ หรือแม้เป็นพุทธแต่ยังมิจฉาทิฏฐิอยู่
ก็ยังยึดตัวพรหมอยู่ เพาะยังมิจฉาทิฏฐิทั้งในมรรควิธี มีผลจึงเป็น"ผล"ผิด
ผู้ไม่เข้าใจหรือไม่รู้จักความเป็น"ภูมิโลกุตระ"ย่อมไม่มีทางที่จะเดินเข้าสู่"โลก"ที่เป็น"โลกุตรภูมิ"ได้แน่ๆ
เพราะยังศึกษา"ไม่สัมมาทิฏฐิ"
(ยังมิจฉาทิฏฐิ)นี่แหละเป็นเรื่องหลักเรื่องใหญ่
จึงไม่สามารถ"พ้นโลกเก่า"
เลื่อนขึ้นสูงสู่"โลกใหม่-โลกอื่น"
(ปรโลก)ไม่ได้ คงวนเวียนอยู่ใน"โลกเก่า"(อยังโลก)
ออกนอกโลกเก่าไปไม่ได้
ไม่สามารถสูงเลื่อนชั้นขึ้นสู่ชั้นภูมิที่สูงยิ่งขึ้น
ซึ่งความเป็น"โลก"แบบโลกุตระนี้เป็นสภาพหมุนรอบเชิงซ้อน(คัมภีราวภาโส)ที่ซับซ้อน
สูงขึ้นๆจริง ไม่ใช่วนไปวนมา ต่ำๆ-สูงๆอยู่ ไม่อาจล่วงพ้น(สมติกฺกม)ชั้นโลกีย์ที่หมุนวนไปได้
จึงเป็นเรื่องที่เห็นตามได้ยาก(ทุทฺทส)
รู้ตามได้ยาก(ทุรนุโพธา) สงบพิเศษ(สันตา) ฯลฯ จริงๆ
เอาล่ะ..ทีนี้
มาแจกแจงจากคำตรัสของพระพุทธเจ้าดู
"อปุญญาภิสังขาร"
ท่านตรัสว่า
"อกุศลเจตนา
เป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร"
ซึ่งพระบาลีก็คือ อกุสลา เจตนา
กามาวจรา อยํ วุจฺจติ อปุญฺาภิสงฺขาโร
ก็อีกแหละ
ตามภูมิอาตมาซึ่งจะเอาสภาวะธรรมที่อาตมามีเป็นหลัก ก็เข้าใจได้ว่า อกุศล นั้นคำหนึ่ง
เจตนา นั้นอีกคำหนึ่ง ที่มีในประโยคนี้ ให้ความหมายอยู่ชัด
ดังนั้น อปุญญาภิสังขาร
จึงหมายความว่า ความจงใจ(เจตนา) ความมุ่งหมาย(เจตนา)ปฏิบัติตนให้เกิดความดีงามถูกต้อง(กุศล)
ที่ท่องเที่ยวไปในแดนกามภพ(กามาวจร)นั้นได้ทำมาแล้วด้วย"ปุญญาภิสังขาร"
ได้ทำ"กุศล"ที่เป็น"บุญ"จริง
กระทั่งสามารถ"ได้บุญ"
คือ ได้"ชำระจิตสันดานหรือชำระกิเลส
สะอาดผ่องใส" จนถึงขั้น"ล่วงพ้น(สมติกฺกมติ)
หรือพ้นแล้ว(วิมุตต) "ถึงขั้น"อปุญญาภิสังขาร"ก็ไม่ต้องชำระจิตสันดานนั้นอีกแล้ว
เพราะ"อกุศล"เป็น"เจตนา"คือจงใจหรือมุ่งหมายชำระ
ก็ได้ชำระสำเร็จลงแล้ว "อภิสังขาร"(การจัดแจงอย่างสัมมา,การปรุงแต่งอย่างสัมมา)นี้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว
จึงไม่ต้อง"ทำบุญ"อีก
เป็น"อปุญญ"แล้ว
"ไม่ชำระ"กันอีกแล้ว
เสร็จกิจแล้ว
และมีคำว่า "กามาวจร"นี้แหละที่ยืนยันชัดแท้ว่า
ปฏิบัติในขณะที่"ท่องเที่ยวอยู่ในแดนกามภพ"แท้ๆ
ไม่ได้หลับตาเข้าไปอยู่ใน"ภพภายใน"หรือใน"ภวังค์"เลย
เพราะคำตรัสมีทั้งใน"ปุญญาภิสังขาร"และมีทั้งใน"อปุญญาภิสังขาร"
เมื่อบรรลุแล้วจึงมี"ความทรงอยู่เหนือภพนั้นภูมินั้น"(อภิธรรม)
เป็น"ผู้อยู่เหนือโลกนั้น"
(โลกุตระ) จึงไม่ได้หนีไปไหน ก็ยังอยู่ที่"กามภพ"และมีกามาวจร
อยู่ตามเดิม
แต่"จิตใจสูงขึ้นหลุดพ้นจากความเป็นคนในภพเก่า"นั้นแล้ว
จึงดำเนินชีวิตหรือท่องเที่ยวอยู่ใน"กามภพ"นั้นเองคงเดิม
ที่เรียกด้วยภาษาว่า"กามาวจร"
คือท่องเที่ยวไปในแดนกามภพ(กามาวจร)นั้นเอง และบัดนี้มีชีวิตปรุงแต่งเป็น"อปุญญาภิสังขาร"แล้ว
"ไม่ต้องชำระกิเลสกันอีกแล้ว"
(อปุญญา)
ทีนี้คำว่า"อกุศล"ที่เป็นคำตรัส
คำนี้แหละ ที่ทำให้ผู้มีภูมิโลกียะเดาเอาไม่ได้ ยิ่งรู้อยู่แค่พยัญชนะ
ไม่รู้สภาวธรรม แม้จะพยายามจินตนาการตามก็ไม่ง่ายนัก
ก็พยายามฟังดีๆ ฟังด้วยดี
จะได้ปัญญานะ สุสฺสูสัง ลภเต ปัญญัง
"อกุศล
เจตนา กามาวจรา"
นี้เรียกว่า "อปุญญาภิสังขาร"
"อกุศล"ในภูมิ"อปุญญาภิสังขาร"นี้
หมายถึง ผู้ที่ยังมีชีวิต"กามาวจร"ตามที่พระพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้
คือ ยังดำเนินชีวิตท่องเที่ยวอยู่ในกามภพ
นี่เอง
ทีนี้ คำว่า อกุศลนี้
เป็นคำที่อยู่ในภูมิของอปุญญาภิสังขาร โดยมีคำว่าเจตนา ที่แปลว่า ความมุ่งหมายหรือความจงใจเป็นคำสำคัญอีกคำหนึ่ง
ที่ทำให้ความจริงชัดเจนยิ่งขึ้นในความเป็นพุทธธรรมที่ลึกซึ้งอย่างยิ่ง
ผู้มีภูมิอปุญญาภิสังขารนี้
คือ ผู้ไม่ต้องทำบุญและบาปแล้วตามที่ได้อธิบายมาตลอด
แต่ยังมีชีวิตจึงทำกุศลได้ ดังโอวาทปาฏิโมกข์ที่ว่า ไม่ทำบาปทังปวงแล้ว-สัพพปาปัสสะ
อกรณัง แต่ยังกุศลให้ถึงพร้อม-กุสลัสสูปสัมปทา คือ ยังทำกุศลให้ถึงพร้อมอยู่
สำหรับผู้ทำจิตสะอาดผ่องใสแล้ว
ดังนั้น ทุกกรรม
ทุกการกระทำของท่านผู้ที่อปุญญแล้วนี้
เมื่ออภิสังขาร คือปรุงแต่งใดๆตามฐานะของท่าน ก็ต้องคำนึงอย่างสำคัญ สังวรอกุศลเสมอ
เพราะในโลกีย์ไม่มีอะไรเที่ยง มันเกิดจากเหตุปัจจัยซึ่งก็ไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา
มันเป็นเหตุแห่งทุกข์มากเหลือเกิน
แม้ตัวท่านไม่ทุกข์แล้วก็แน่นอน
แต่ท่านก็ต้องทำความสุขให้แก่มวลชนเป็นอันมาก(พหุชนสุขายะ)ตามคุณธรรมแท้ของพุทธอยู่
จึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่าให้เกิดอกุศลให้ได้เสมอ
กระนั้นในสังคมโลกที่มีลาภสักการะเสียงสรรเสริญ
มันก็ยังเป็นอันตรายอันแสบเผ็ดแม้แต่กับพระอรหันต์ ในการดำเนินชีวิตอยู่กับแดนดงกาม(กามาวจร)นั่นแหละ
จึงต้องระมัดระวังอกุศลตัวนี้อยู่อย่างสำคัญ
ตัวท่านเองไม่ใช่ตัวอันตราย
แต่แม้เป็นอรหันต์แล้ว ทำการงานก็อาจจะเกิดอันตรายได้
ถึงขนาดอันตรายอันแสบเผ็ดก็เป็นได้ พระพุทธเจ้าจึงต้องให้สังวรเสมอ
มีคนไม่รู้แจ้งสัจธรรม
มักเดาเลยเถิดไปว่าอรหันต์ทำอะไรไม่ผิด
หรือทำผิดไม่ได้ ซึ่งเป็นการเดาที่ผิด
อรหันต์ก็ทำผิดได้ ตามภูมิตามฐานะ ซึ่งอรหันต์ย่อมมีภูมิในทางโลกีย์มากน้อยได้
ไม่เท่ากัน
แต่ผิดของพระอรหันต์ไม่มี"อกุศลเจตนา"แน่
นี่คือ ข้อยกเว้นที่เรียกว่า "สติวินัย"ของพระอรหันต์
ไม่ให้ปรับอาบัติพระอรหันต์
และมันเป็น"สมมุติสัจจะ"
ไม่ใช่"ปรมัตถสัจจะ"
จึงไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลา
คนที่มีภูมิระดับ"อปุญญ"นี้ย่อมมี"เจตนา"
มี"ความมุ่งหมาย"ที่จะไม่ให้"อกุศล"เกิดในการกระทำของท่านแน่ๆ
ใช่ไหม? ท่านจึงต้องคำนึงถึง"อกุศล"
ที่"ชาวกามภพเขาสมมุติ"กัน
ต้องใช้"สัปปุริสสธรรม
๗ และมหาปเทส ๔"
ประมาณให้ให้ดี ให้ได้ จึงต้อง"สำคัญมั่นหมาย"ใน"อกุศล"อย่าให้ผิดพลาดมีขึ้น
จึงจะเดาเอาง่ายๆตามพยัญชนะแต่ละคำแค่นั้น
ไม่ได้ จึงยากอยู่มิใช่น้อยสำหรับผู้ยังไม่มีภูมิที่พอจะรู้ หากไม่รู้มาก่อนจากท่านผู้รู้ได้อธิบายสู่ฟัง
ก็ย่อมประมาณหรือเดาเอาไม่ได้ว่า ในคำตรัสของพระพุทธเจ้านี้ ในความเป็น"อุปญญาภิสังขาร"
ต่อไปเป็นการตอบประเด็น
·
๑.การที่คนตายไปแล้วบอกว่าไปนรกสวรรค์ที่มีหลายชั้นหมายถึงอย่างไร
๒.คนตายไปแล้วไม่มีอายตนะวิญญาณจะไปนรกสวรรค์ได้หรือไม่ ตอบ อายตะคือการเกี่ยวเนื่องกระทบสัมผัส
อายตะไม่ตั้งอยู่ เกิดเมื่อมีเหตุปัจจัย
ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยไม่มีการกระทบสัมผัสก็ไม่มีอายตนะ ไม่ถือว่าเป็นธาตุด้วยซ้ำ
จิตคือธาตุรู้คือมนายตนะกับธรรมายตนะ
ถ้าทรงไว้ด้วยอวิชชา ก็พาปรุงเลอะไปตามเรื่อง มันปรุงไม่หยุดหรอก
ไปตามที่เรายึดถือที่เราติด จิตมันปรุงอยากได้ เช่นอยากได้ทางตา ทางหู
เมื่อคุณตายไปคุณไม่มีตา หูแล้ว แต่คุณจะมีมนายตนะ กับธรรมายตนะ (อายตนะ ๒)
มันปรุงกันเองเลยโดยไม่ต้องมีเหตุปัจจัยอื่น เมื่อคุณตายไปก็ยิ่งดิ้น แต่ก็ไม่ได้
จมดิ่งอยู่เดี่ยวๆไม่เกี่ยวกับใคร ลองเดาดูว่า คนถูกผีอำจะดิ้นออกมา
แต่ก็ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร เพราะจะไปตามเหตุปัจจัย มันจมอยู่กับจิตอย่างเดียว
นรกก็มีตรงนั้น สวรรค์ปลอมก็เป็นของเท็จ มันยึดว่าเป็นของจริง
คุณจะไม่ได้สวรรค์สดๆเมื่อตายจะมีแต่นรกที่ดิ้นรนอยากได้สวรรค์สดๆอย่างที่เคยติดแต่ไม่ได้เพราะไม่มีทวารให้เสพ
พระอรหันต์ไม่มีนรกสวรรค์ เป็นอนาคามี ไม่ต้องสุขทุกข์กับทวารนอกแล้ว
ท่านก็ศึกษารูปราคะอรูปราคะของท่าน ท่านจะรู้การเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของภพชาติ
เพราะมีนิโรธจากกามภพแล้ว ก็ทำต่อเรื่องรูปภพ อรูปภพต่อได้
·
ได้ดูรายการของคุณโสภณ มีเด็กร้องเพลงได้ดีมากเลยเหมือนผู้ใหญ่
คุณโสภณว่าเขามีพัฒนาการสมองมากกว่าปกติ แต่ดิฉันว่าเขาสะสมมาใช่ไหม?
ตอบ...เขามีอุปกรณ์ของเขามาดี
ถ้าโพธิสัตว์เป็นช้างก็ใช้สมองของช้าง แม้วิญญาณจะมีบารมี พอมาเกิดเป็นคน
ก็มีสมองใช้ได้ บอกตรงๆ พ่อครูชาตินี้แม้มีบารมีหลายอย่างแต่อุปกรณ์ใช้ได้แค่นี้
ส่วนของบารมีมีทั้งรูปธรรมและนามธรรม คนที่มีบารมีอย่างที่พูดมีไม่น้อยหรอก
คนที่ชำนาญมามีบารมีแต่ก็อุปกรณ์ไม่ให้ก็มีเยอะเลย
ถ้าอย่างโมสาร์ทมีอุปกรณ์พร้อมและมีบารมีด้วยก็ปรากฏผลเลย
· ขอชื่นชมรายการวิปัสสนาข่าวครับ ลงตัวมากขึ้น
เห็นการเตรียมงานของบ้านราชฯรู้สึกว่ายิ่งใหญ่ครับ
ส่วนรายการบอกเล่าข่าวอโศกเห็นใจผู้ดำเนินรายการที่บอกว่าอยู่คนเดียว ไม่มีตากล้อง
จะอัดไว้เป็นเทปมาออกก็ได้นะครับ เห็นใจว่าไปช่วยถ่ายทอดสดให้ เอเอสทีวี
แต่รายการบอกเล่าข่าวอโศกไม่มีคนทำ ตอบ โทรทัศน์เราถูไถมาได้หลายปี ตอนนี้มีงานเยอะ คนเราก็น้อย
ผู้มีน้ำใจขอบริจาคน้ำใจก็อนุโมทนาสาธุ ก็เข้าใจตามนี้ พ่อครู ก็เห็นใจคุณทองแก้ว
ไม่ได้ติดใจ มันเป็นความไม่สมบูรณ์ของเรา คนจะเห็นว่าน่าขายหน้าเราก็ทำ
เราไม่ได้มีอามิส เรามีเจตนาทำดีที่สุด แต่ว่าคนเรามีเท่าที่ได้ก็ว่ากันไป
อนุโมทนากับคนที่ช่วยกันอยู่ พ่อครู ไม่ค่อยชม จะติมากกว่าชม
· น้ำฉี่ที่เก็บไว้เป็นปีดื่มได้ไหม
ตอบ คงไม่เป็นอะไร
ถ้าไม่มีเชื้อโรคมาก
และตอบไม่ได้ด้วยต้องให้ผู้สันทัดกรณีตอบ ก็ไม่ค่อยมีความรู้
· เดี๋ยวนี้คนหนุ่มสาวเขาชอบอยู่กันอย่างลับๆ
แอบเสพกาม ในกลุ่มหลวงพ่อมีไหม ตอบ ก็อาจมีบ้างทีหร็อย
หลบทำ แต่ว่าเราก็พยายามให้ลดละล้างกันในเรื่องกาม
· หากเขาทำแบบไม่รู้ถือเป็นเรื่องส่วนตัวเขาไหม
หรือหากรู้ชัดจะต้องให้ทำตามประเพณีหรือไม่ ตอบ เป็นรายละเอียด เราก็มีประเพณีมีระเบียบ
· ส่วนคนที่มีภรรยามากกว่าหนึ่งจะเป็นอย่างไร ตอบ ถ้ารู้เราก็ไม่สนิทไม่คบ ถ้าไม่รู้ก็ไม่รู้
· ถ้าในครอบครัวเขามีคนเต็มใจที่จะมีมากกว่าหนึ่งคนในคู่ครองแต่เขาเต็มใจเพราะเป็นกิเลสกามได้ไหม
ตอบ เป็นไปตามกฏของหมู่เป็นใหญ่ ก็เป็นเรื่องที่ไม่น่าทำหรอก
· คนที่ฆ่าตัวตายจะทำอย่างไร
เพื่อนผมผูกคอตายจะทำอย่างไร ตอบ เอาไปเผา ทิ้งไว้ก็ขึ้นอืด รีบเอาไปเผา ตอบจริงๆซื่อๆ
ถ้าจะถามว่าวิญญาณจะเป็นอย่างไร ตอบไม่ได้ ไปตามวิบาก ไม่เก่งเรื่องทำนายกรรมวิบาก
ถ้าเก่งเรื่องนี้ คนจะมาถามมาก ไม่ต้องทำงานอื่น เราไม่ทำงานนี้
·
ในดงแห่งโลกธรรม โลกกาม โลกอัตตา จะมีการปลดล็อกอย่างไร ตอบ เหมือนถามศาสนาพุทธทั้งหมดเลย
ที่ถามมาคือให้ตัดโลกโลกียะทั้งหมด ก็คือที่พยายามพูดกันนี่แหละ
เลิกได้หมดก็เป็นอรหันต์ อยู่กับโลกช่วยโลก
·
ขอท่านวิจารณ์พระพุทธเจ้าน้อยว่าเกิดมาจะเป็นพระพุทธเจ้าเลยไหมครับ ตอบ
เจ้าชายสิทธัตถะก็ถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว มีพุทธการกธรรมสมบูรณ์แล้ว
ถ้าจะเอารูปธรรมว่าเป็นเด็กยังไม่ตรัสรู้ก็ได้ แต่ถ้าเข้าใจในนามธรรม
ในชาติที่ท่านเป็นโพธิสัตว์ใหญ่บางชาติก็เป็นฆราวาส ก็มีภูมิธรรม ท่านก็สอนธรรมะ
อยู่ที่ใครจะตั้งแง่มาว่าเท่านั้นเอง ถ้าพูดโดยรูปธรรมว่าพระพุทธเจ้าน้อย
ท่านเป็นเจ้าชายสิทธัตถะน้อยก็ได้
แต่ถ้าจะเรียกพุทธเจ้าน้อยก็เป็นการเคารพธรรมะในตัวท่าน ชาติที่ท่านเกิดมาเป็นพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ปฏิบัติธรรมอะไร
มีภูมิจะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
· การสำรวมกายและใจจะถือว่าเป็นการสำรวมผัสสะกับการสำรวมอินทรีย์มีสภาวะต่างกันอย่างไร ตอบ
อินทรีย์หมายถึงตัวกำลังและทวารด้วย การสำรวมอินทรีย์คือการสำรวม กาย วาจา
ใจไปด้วย ทั้งทวาร ๖ ต่างอย่างไรกับผัสสะ ก็คือมันเป็นคนละระยะ
สำรวมก็คือยังไม่ผัสสะ พอผัสสะก็มีวิญญาณ แล้วก็อย่าให้ตกหล่น เมื่อกระทบก็อย่าให้ปรุงแต่งเป็นผี
อ่านแล้วมีธัมมวิจัย ไม่ใช่คิด แต่วินิจฉัยด้วยอย่างเห็นสภาวะจริง ว่าอะไรคือรูป
อะไรคือนาม อะไรคือตัวแฝง และได้ปหานไหม มีผลอย่างไร
คนธรรมดาไม่สำรวมหรอกก็ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ไม่ได้หัดระงับเรียนรู้ลดละเลย
ขนาดเราตั้งใจทำต้องค่อยๆมีผล คนที่รู้สึกว่าเราได้ปฏิบัติธรรมจะรู้เลยว่าเราได้สำรวม
จะรู้ว่าวันหนึ่ง เราจะรู้ว่าเรารู้สึกตัวว่าเราได้ปฏิบัติธรรมสังวรมากกว่าปกติ
นั่นคือลักษณะปฏิบัติธรรม แต่ถ้าวันหนึ่งๆ ก็ได้รู้แต่ครั้งสองครั้ง
อย่างนี้ไม่พอกิน ต้องมีการสำรวมระวังให้มาก เสมอๆ
ต้องมีความเพียรให้มากแต่ไม่ต้องเคร่งเครียด ให้สังวรเรื่อยๆ
รู้ตัวแล้วทำให้ถูกต้องเสมอ ....
คำว่า
ภิกษุนั้นย่อมเสพให้มาก ย่อมเจริญให้มาก ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
เป็นอย่างไร จึงย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไปได้
ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ฯ รู้อยู่ฯ
เห็นอยู่ฯ อธิษฐานจิตอยู่ฯ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาฯ ประคองความเพียรไว้ฯ ตั้งสติไว้มั่นฯ ตั้งจิตไว้อยู่ฯ ทราบชัดด้วยปัญญาฯ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ฯ
กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ฯ ละธรรมที่ควรละฯ เจริญธรรมที่ควรเจริญฯ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งฯ นี้ชื่อว่าเสพให้มาก ย่อมเจริญให้มาก ย่อมทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
จึงย่อมละสังโยชน์ได้
อนุสัยย่อมสิ้นไปได้. (ล.๓๑ ข.๕๓๕)
ตอบ
คุณมีกรอบศีล ๕ ก็ทำตามกรอบ
·
ผมถือศีล ๕ ไปเหยีบมดคันไฟ เอามือปัดมันก็ไม่ออก จะผิดศีลไหม
ตอบ องค์ของปาณาติบาตมี ๕
คือ๑.รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
๒.สัตว์มีชีวิต ๓.เจตนาฆ่า ๔.พยายามฆ่า ๕ สัตว์ตาย ต้องครบองค์ ๕ จึงผิดศีล
เราต้องรู้ว่าปัดแรงมันก็ตายสิ เราก็ตั้งใจทำเบาๆ ทำให้บริบูรณ์ขึ้น
·
ต้องออกจากวัดไปดูแลพ่อ ตอนนี้พ่อเสียแล้ว เหลือแม่
แม่ไม่ยอมให้ไปไหนเลย ทำอย่างไร ตอบ ก็ปฏิบัติไป อยู่ที่ไหนก็ปฏิบัติได้ แม้ไม่มีสิ่งแวดล้อมดี
แต่ก็ทำได้ติดต่อกันได้ คนมีวิบากต่างกัน อย่าใจร้อน
·
กิเลสกาม
คนที่มีภรรยามากหรือน้อยก็แล้วแต่ให้ดูกระดูกที่สันติอโศก ถูกเผาแล้วก็ไม่เหลืออะไร ตอบ
ก็มีการพิจารณาอศุภะ.....จบ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น