วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

55-3-17 บันทึกย่อพ่อครูสมณะโพธิรักษ์เทศน์


เขียนโดย ..ใจแปลง สู่แดนธรรม

บันทึกย่อพ่อเทศน์ สงครามฯ FMTV บ้านราชฯ ตอน.. "บรมภาวะ ๕ ที่ควรทำให้เกิด"
เสาร์ ๑๗ มี.ค. ๒๕๕๕ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ เริ่มเวลา 18:03 น.

วันนี้พ่อท.จะอธิบายให้แทงทะลุในปรมัตถธรรม จึงขออภัยบางท่านที่ไม่มีพื้นฐานทางธรรมมาก่อน อิสรเสรีภาพจึงเป็นตัวแก่นนำหน้าภาวะอื่นๆ ให้เกิดตามมา หากศึกษาไม่ดี-ไม่มีสัมมาทิฏฐิแล้วก็จะไปหลงนับถืออรหันต์เก๊ ที่สอนผิดแล้วก็หลงเข้าใจผิดในความเป็นสัมมาสมาธิ พ่อท.จึงต้องพูดสอนแบบแย้งความเชื่อของผู้อื่น และการบอกยืนยันว่าอะไรผิดอะไรถูกนั้น จึงไม่ใช่การข่มกัน แม้พ่อท.จะมีลีลาแบบแข็งๆ ยืนยันดุดัน ก็เป็นเพียงลีลาที่ยืนยัน ไม่ใช่เหลาะแหละแบบ อะไรก็ได้ อะไรก็ถูก ฯลฯ


อิสรภาพจึงมีคุณลักษณะหลุดพ้น ดับภพ จบชาติ ในแต่ละรอบ คือ พ้นออกมาจากโลกอบายหยาบๆ โลกกามคุณ โลกธรรม เหลือแต่โลกอัตตาก็ศึกษาละล้างให้หลุดพ้น ไม่เป็นทาสบำเรออัตตา จิตหลุดพ้นมาตามลำดับ จึงเกิดขบวนการสังคมในการอยู่รวมกัน เพราะพุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาปลีกเดี่ยว แต่คือศาสนาสังคมที่มีการอยู่ร่วมกัน รู้จักระลึกถึงกัน เคารพกัน รักกัน ช่วยเกื้อกูลกันในชุมชน

พ่อท่านสร้างหมู่กลุ่มที่มีพฤติพุทธให้เห็นเป็นโมเดลขึ้นมา ยืนยันให้เห็นการสร้างนี้มาจากหลักธรรมของพพจ. พ่อท.เกาะพระไตรฯ แจเลย เพื่อนำหลักฐานมายืนยัน แม้ไม่มีความรู้เป็นนักบาลีเลย ก็ขอให้ท่านผู้รู้ได้ตรวจสอบความจริง

ภราดรภาพของหมู่ชนที่มีอิสรเสรีภาพปราศจากอำนาจกิเลส จึงเกิดสันติภาพ และยังมีพลังสมรรถภาพสร้างสรรค์ เผื่อแผ่ เกื้อกูลสังคหะออกไป ให้เจริญ ให้เต็ม ไม่ให้บกพร่องไปเรื่อยๆ พ่อท.นำสาราณิยธรรม๖ และพุทธพุทธ๗ มาอธิบายอีก ซึ่งเกิดขึ้นมาได้เพราะปฏิบัติตามหลักธรรมจรณะ๑๕ ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่มีรายละเอียดไปจนถึงฌาน ๔ นั่นเอง

กถาวัตถุ๑๐ หรือแม้แต่ข้อที่๔ ของโอวาทปาฏิโมกข์ ก็ล้วนแต่เป็นการพูดชักชวนกันไปสู่ ความมักน้อย สันโดษ สงบสงัดจากกิเลสจนถึงนิพพานทั้งสิ้น ราบเรียบลงไปตามลำดับ ที่จะเห็นได้ก่อนก็คือ ความมักน้อยก็คือความกล้าจน แม้เรื่องสันโดษก็ยังมีรายละเอียดที่รู้เห็นได้ยาก บัณฑิตเท่านั้นจึงจะรู้โดยไม่ต้องเดา ...

พ่อท.อธิบายกถาวัตถุ๕ ไปก่อนอย่างตอกย้ำ (อัปปิจฉะ สันตุฏฐิ ปวิเวกะ อสังสัคคะ) ซึ่งจะมีธรรมะเหล่านี้ไปแทรกอยู่ในหมวดอื่นๆ อีก เช่น ในหลักตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ และมีอยู่ในวรรณะ๙ อีก การมักน้อยของพุทธจึงอยู่ท่ามกลางในความมักมากได้ ไม่ใช่มักน้อยแบบตัดทิ้งตะพึดไปหมดแบบฤาษี

คำว่า ธุดงค์ พ่อท่านว่าทุกวันนี้กลายเป็นเครื่องอวดอ้าง เรียกหาความนิยมแบบโลกๆ เช่น ไปสร้างรูปแบบให้คนมาบวชแล้วพาเดินธุดงค์ ซึ่งไม่ได้เกิดจากสัจจะของสมณะผู้มีความสันโดษอันเป็นอริยะเลย พ่อท.ตำหนิติติงสำนักที่ทำความมักมาก สมณะอโศกนี้มีความเป็นธุดงค์ พ่อท่านเน้นเรื่องความเข้าใจผิดในการออกไปอยู่ป่า ป่าและราวป่าอันสงัด ทำความวิเวกได้ยาก อ้างจากอุบาลีสูตร ป่าเห็นจะนำใจภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย คือ ถ้าไม่จมลง (ดับดิ่งจมภพสงบ) ก็ลอยขึ้น (คือฟุ้งซ่านไปกับผลสงบที่จิตมีฤทธิ์มีของเล่นให้เล่น /ผู้บันทึก)

... ฯลฯ ... พ่อท่านเริ่มอธิบายลึกขึ้น เข้าใจยากขึ้น จนต้องบอกให้ตั้งใจฟังดีๆ

เมื่อผัสสะดับวิญญาณก็ดับนั้นดับอย่างไร พ่อท่านว่ามีความลึกซึ้งมากเพราะต้องอาศัยมีผัสสะ เช่น ผัสสะเกิดกามคุณ๕ พอสัมผัสปุ๊บคนก็ปรุงแต่งด้วยอวิชชาเป็นเหตุปรุงแต่งสังขารเสร็จทันที (แล้วก็ประชุมลงในเวทนาทันที ลัดลงไปสู่ภพในใจ แม้ไม่มีผัสสะนอกก็ย่อมมีผัสสะในโดยมโนวิญญาณเอง /ผู้บันทึกเคยสนทนากับพ่อท่านมา)

พ่อท่านพยายามขยายความเรื่องอายตนะ ระหว่างวิญญาณกับผัสสะ ปฏิบัติเพื่อกำจัด ตาสัมผัสรูปเกิดอายตนะเป็นสะพาน ทำงานให้เท่านั้น เมื่อสิ้นผัสสะแล้ว คือผัสสะดับ อายตนะก็หายวับไปทันที อายตนะพาให้รู้ไปจนถึงสัญญากำหนดรู้นิโรธ ย่อมรู้สึกตัวเห็นนิโรธหลัดๆ ไม่ใช่หมดความรู้สึก แต่ต้องมีสัมปชานะ(คือสติและสัมปชัญญะที่รู้ตัว) ไปรู้ความดับ รู้หมดเลย ไม่มีแม้แต่น้อยที่จะไม่รู้

จึงรู้เห็นว่าสิ้นไป วิญญาณดับอะไรที่พอมีผัสสะกระทบแล้ว วิญญาณนั้นก็ไม่เกิดอีก พ่อครูว่าเดี๋ยวจะอธิบาย ให้ตั้งใจฟังดีๆ เราก็สนใจใคร่รู้เพราะมีพื้นฐานรู้อย่างใจจดจ่อ

คือ จิตไม่มีกิเลสสังขารร่วมอีกแล้ว (วิญญาณจึงไม่รับรู้กิเลส) พ่อท่านสอนอายตนะ๒(ภายใน) กับอายตนะ๑๐(ภายนอก) หากไม่มีผัสสะ อายตนะก็หายไป เมื่อมีผัสสะจึงมีอายตนะ แม้เหลือเฉพาะใจเกิดผัสสะขึ้นเองก็ยังมีอายตนะ

(มีต่อ)

ใจแปลง สู่แดนธรรม เขียนในช่องความคิดเห็นว่า..
พ่อท่านเรียบเรียงเขียนไว้แบบเตรียม ตัวมาอย่างดี ว่า "...ดังนั้น หากมีสำนักไหนสอนว่า อายตนะมีสถานที่ตั้ง มีที่อยู่ ฯลฯ สำนักนั้นก็มิจฉาทิฏฐิ เพราะยังไปเห็นว่านิพพานยังมีสถานที่ตั้งอยู่ มีเมืองมีแดนนิพพาน" พ่อท่านเอาหลักฐานมาอ่านให้รู้ คือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่

ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอาตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ (พ่อท่านว่า ที่สุดแห่งทุกข์ก็คือนิพพาน และนิพพานก็ต้องมีอายตนะไปเชื่อมทำหน้าที่ให้รู้ พอหมดหน้าที่แล้ว ก็ไป) ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ใหม่ที่พ่อท่านพยายามสอนให้รู้ จากความรู้ที่พ่อท่านมีอยู่เก่าก่อนแต่ปางบรรพ์

คนทั่วไปมีอวิชชาเป็นเหตุให้เกิดการสังขารปรุงแต่ง จนรวมลงเป็นเวทนาอารมณ์ พอปฏิบัติดับอวิชชา สังขารก็ไม่มีเหตุที่จะนำเอากามไปปรุงแต่ง วิญญาณก็ดับ

พอมีผัสสะอีกเมื่อใด ผัสสะก็ดับการเกิดเวทนา วิญญาณผีกามราคะจึงไม่เกิด แต่วิญญาณก็ย่อมมีธาตุรู้ว่าวิญญาณก็ว่างจากผี หรือว่างจากเทวดาชั้นกามา

วิญญาณจึงมีนิโรธแท้ ว่างจากเหตุผัสสะภายนอกดับอยู่ วิญญาณจึงตายไม่ฟื้นกิเลสขึ้นมาอีก นิพพานจึงเกิดในขณะที่เจ้าของร่างกายยังไม่ตาย หรือ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ส่วนที่เป็นอกุศลจิตหรือวิญญาณส่วนเลวที่เป็นอุปาทานนั้น ไม่เกิดอีกแล้ว แต่เขาก็ยังเหลือขันธ์๕ (เสสะ หรือเศษ) แต่ก็ยึดไว้อย่างสมาทาน หรือ สอุปาทิ ยึดไว้อย่างอรหังคือฉวยยึดไว้อย่างไม่ลึกลับอีกแล้ว ได้อรหันต์แล้วแต่ยังไม่ตาย และยังตั้งได้ภพ ต่อภพโพธิสัตว์มาศึกษาต่อภูมิอยู่อีก

(ต่อจากนี้ ผมเกรงว่าจะสรุปผิดไปจากคำพูดของพ่อท่าน คือ...) อนุปปาทิเสสนิพพาน หมายเอา ร่างกายของผู้มีนิพพานนั้น แตกดับและไม่ยอมต่อภพอะไรอีก ไม่เป็นพระโพธิสัตว์อีกแล้ว และไม่มีจิตอื่นๆ อีก ท่านดับแล้วทั้งธาตุรู้ ดับทั้งกาย ไม่ให้มีวิญญาณมาเกิดสันตติต่ออีก ก็สูญหมด ไม่มีอะไรเหลืออีกเลย คือ ปรินิพพาน

เมื่อสัมปชานบุคคลปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความเป็นไปแห่งจักษุนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักษุอื่นก็ไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไปแห่งจมูก ความเป็นไปแห่งลิ้น ความเป็นไปแห่งกาย ความเป็นไปแห่งใจนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งใจอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ความครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล สูญมีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฉะนี้แล (ล.๓๑ ข.๖๕๘)

พ่อท่านว่า นิพพานก็มีสัญญากำหนดรู้ (ผมรู้สึกได้ว่า พ่อท่านพยายามสั่งสอนนำมาให้ความ รู้อย่างยิ่ง แต่พ่อท่านก็มีเสียงเนือยๆ เหมือนจะเหนื่อย ... พอไปสอบถามพ่อท่านบอกว่า อาตมาไม่มีเนือยๆ หรอก แต่ตั้งใจพูดให้ช้าๆ ให้ชัดๆ กลัวว่าจะบรรยายเร็วไป) รวมเวลาบรรยาย ๒ ชม. ๐๖ นาที ไม่มีหยุดพัก

ใจแปลง สู่แดนธรรม เขียนในช่องความคิดเห็นว่า..

สิ้นกังขาแล้วที่ว่า วันนี้ พ่อครูจะได้แจกแจงเรื่องหน้าที่ของ "อายตนะ" ไหมหนอ ...

พ่อท่านมีแต่ความรู้อยู่ในสัญญาเก่าที่จะอธิบาย แต่โดยที่เกรงว่าจะไม่มีใครรู้จัก จึงอยากเห็นหลักฐานในพระไตรปิฎก ... วันนี้พ่อวานให้ผมช่วยค้นพระไตรฯ นานมาก ... ในที่สุดก็เจอจนได้ และนำมาอธิบายช้าๆ





ไม่มีความคิดเห็น: