ตอน.. “การอยู่ป่าและฌานแบบพุทธ”
บันทึกย่อพ่อเทศน์ เรียนอิสระฯ FMTV สันติฯ
อั. ๒๕ เม.ย. ๒๕๕๕ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง เริ่ม 18:03 น.
คลิปรายการย้อนหลัง เรียนอิสระตามสำนึก ตอน.. "การอยู่ป่าและฌานแบบพุทธ"
25 เมษายน 2555 โดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์-สมณ ะเดินดินร่วมดำเนินรายการ
ถ่ายทอดสดจากfmtv กรุงเทพ
2. พ่อท่านตั้งใจจะบรรยายหลายเรื่อง ๙ น.พรุ่งนี้ที่ สนง.อสส. ศูนย์ราชการแห่งใหม่ ถ.แจ้งวัฒนะ พธม.จะยื่นฟ้องร้อง สส. สว. ครม. จำนวน 416 คน ที่ไปเกี่ยวข้องรับหลักการแก้ไข รธน. พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งถือว่านั่นเป็นการล้มล้างแบบใหม่ และอีกที่ ๑๑.๐๐ น. จะไปศูนย์ ปปช. เอาผิด นกม. พ่อท่านว่าปชช.เรานี้แหละที่เป็นเจ้าของอำนาจแท้จริง รมต.หรือนายกฯ ไม่ได้มีอำนาจใหญ่ไปกว่าปชช.เลย จำนวนคนจึงสำคัญ จงไปแสดงตัวให้มีพลังเสียงที่บอกถึงความต้องการของประชาชน เราพากันออกไปชุมนุมนั่นแหละ คือ ออกไปยืนยันคะแนนเสียงแท้จริงของเรา และพวกเราประชาชนก็อย่าไปแยกกลุ่มเพราะมีอัตตา อยากเป็นหัวคิด อยากเป็นตัวการสำคัญ จงยอมร่วมกับใครก็ได้สักหนึ่งกลุ่ม
3. วันนี้จะเอาเรื่องป่ากับศาสนาพุทธมาอธิบายอีก เหตุ ๕ ประการที่มีผู้อยากออกไปอยู่ป่า คือ ๑.เพราะเป็นผู้เขลา งมงาย จึงถืออยู่ป่า ๒.เป็นผู้มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ จึงถืออยู่ป่า ๓.เพราะวิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน จึงถืออยู่ป่า ๔.เพราะเข้าใจว่า พระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้า สรรเสริญ จึงถืออยู่ป่า (พ่อท่านแวะว่า น่าสงสารที่ครูบาอาจารย์หลงไปเช่นนั้น)
4. คุณเปลว สีเงิน ว่าถึง นายอำนาจ รองหัวหน้าองค์กรชาวพุทธฯ เห็นว่า ธุดงค์วัตรในป่าคอนกรีตนั้น ถูกต้อง (พ่อท่านว่าเป็นการเต๊ะท่าเดินอวดอ้างชาวเมืองให้ชื่นชอบ) คุณเปลวว่า ถ้าแนวคิดตัวแทนองค์กรชาวพุทธเช่นนี้เกิดขึ้น นี่แหละคือลัทธิทักษิณ ๒ ได้เกิดขึ้นแล้ว เพราะจะทำให้เป็นสินค้าส่งออกให้ดูเอิกเกริก ถ้าสองคนนี้ทำงานด้วยกัน ทักษิณ+อำนาจ คิดใหม่ทำใหม่ อีกคนจะเอาประเทศ อีกคนจะเอาศาสนาทำเป็นสินค้าหลัก เพื่อจะทำการร่ำรวยกันมหาศาล ฯลฯ พ่อท่านว่าศาสนาพุทธไม่ใช่จะไปคิดเอาคนมาเป็นบริวาร ให้เขาหลงนิยมนับถือ แค่เริ่มคิดนี้ก็ผิดแล้ว
5. ช่างตรงกันข้าม 180 องศายืด กับแนวคิดพอเพียงของในหลวง ฯลฯ พ่อท่านอธิบายเศรษฐศาสตร์ คือ หลักประหยัด มัธยัสถ์ เอาแบบคนจน ที่มักน้อย สันโดษ แต่คนเข้าไม่ถึงเพราะกิเลสมันมากจึงคิดไม่ออก นักเศรษฐศาสตร์โพธิรักษ์บอกว่า เศรษฐกิจคือการกระจายผลประโยชน์ให้ทั่วถึงกัน อย่างพอเหมาะ พอดี ผู้ที่มีกำลังแข็งแรง (มีอินทรีย์พละดี) ก็ย่อมเสียสละให้ผู้ด้อย ส่วนเศรษฐศาสตร์ที่ไม่แท้ก็คือ คนที่แข็งแรงกว่ากลับไปเอาเปรียบคนที่ด้อยกว่า เป้าหมายเขามีแต่แม็กสิไมท์ โปรฟิกต์ พ่อครูแปลว่า ต้องรวยให้ยิ่งใหญ่ไม่มีเสร็จ สังคมก็เจ๊งสิ
6. เศรษฐศาสตร์จริงๆ ก็คือ อยู่กับพอเหมาะ พอดี เศรษฐศาสตร์แบบโลกุตระของพระพุทธเจ้านั้น คนที่เก่งกว่า ฉลาดกว่า จะต้องเอาน้อยๆ กว่า จึงจะเป็นเสฏโฐหรือเสฏฐีผู้ประเสริฐ คือ ผู้เสียสละ ไม่ใช่เป็นผู้ที่เหนือกว่าแล้วจะต้องไปเอาเปรียบเขาเลย เช่น แม่เลี้ยงดูลูกเป็นต้น ... ศ.พุทธจึงมีกิจที่เป็นเศรษฐ จึงมีเศรษฐกิจ ... เรื่องธุดงควัตรในป่าคอนกรีต ผิดหลายชั้น คือ เต๊ะท่าเข้าแถวเป็นชุด ลงทุนสร้างภาพ ตกแต่ง ฯลฯ พ่อท่านว่าและวิจารณ์ด้วยธรรมวินัย ควรหยุด ควรพอได้แล้ว หากหลงผิด มืดบอด ก็คงทำกันต่อ พ่อท่านสงสารประชาชนที่ถูกครอบงำทางความคิด หลงไปด้วยความซื่อ หลงปลาบปลื้ม จนยอมเสียเท่าไรก็เท่ากัน
7. พ่อท่านไม่ได้สื่อด้วยความโกรธเกลียดชัง พ่อครูตรวจจิตดูแล้ว ไม่มีอาการชัง ริษยา แต่ก็สงสารอีก ไม่เอาแง่นี้มาทำบาปอีกแน่ๆ เรื่องธุดงค์ คือ องค์ของธุตะ หรือการชำระกิเลสอย่างเคร่งๆ สูงๆ ... (เสียเวลาบันทึกไป ๘ นาที เพราะไฟเลี้ยงคลื่นไวฟายมันตก) ... พ่อครูวิจารณ์เรื่องมิจฉาสมาธิที่ไม่มีสัมมาญาณ และสัมมาวิมุติ ...
8. ในแง่ที่ดีของการออกไปอยู่ป่าก็คือ ข้อที่ ๕.เพราะอาศัยความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา ความเงียบสงัด และเพราะอาศัยความเป็นแห่งการอยู่ป่ามีประโยชน์ ด้วยความปฏิบัติงามนี้ จึงถืออยู่ป่า จิตของผู้นี้ย่อมได้ฝึกความวิเวก ต้องมักน้อย สันโดษ จึงจะอยู่ป่าได้ เพราะจำใจต้องพอ ที่จะไม่มีอะไรมาบำรุงบำเรอให้สมใจในกามคุณทั้ง ๕ ที่เคยชินเหมือนก่อนเลย (พ่อท่านอธิบายว่า ไปฝึกหัดตรวจสอบจิตที่เหลือของตนดูว่า จะมีเศษรูปราคะ อรูปราคะผุดเกิดขึ้นไหม โหยหาไหม) .. หากมีสัมมาทิฐิดีแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องออกไปอยู่ป่าก็บรรลุได้
9. ป่ามันเงียบ วิเวก ก็จริง แต่ไม่ใช่วิเวก ๓ ที่เป็นเรื่องของจิตใจ ซึ่งอาจอาศัยป่า แต่หากไม่อาศัยป่าเราก็อาศัยเมืองอันวุ่นวาย ไปฝึกทำให้มีกายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก ก็ย่อมได้ ... เรื่องมักน้อย สันโดษ นั้น อย่าไปหลงผิดในการอยู่โดดเดี่ยว อยากอยู่แต่ผู้เดียว แต่สันโดษหมายถึง ใจพอ แม้มีน้อยๆ ใจเราก็พอ หรือไม่มีเลย ใจก็พอ ใจก็สงบ ไม่ดีดดิ้นต้องการเอามาอีกแล้ว ผู้สงบแบบพุทธคือ ผู้ขจัดเอาตัวตนของกิเลสออก จึงไม่มีตัวกิเลสมาก่อกวนได้อีกเลยอย่างถาวร ซึ่งผลจะต่างจากสงบแบบฤาษี ที่เขามักน้อยสันโดษได้ยิ่งกว่า ไม่เอาแม้แต่เสื้อผ้า นั่นดิ่งโต่งไปในทางน้อยจัดๆ ไม่คำนึงถึงผู้อื่นและสังคม เอาแต่ตัวเองเป็นใหญ่ ไม่เข้าใจประโยชน์ของผู้อื่น ฯลฯ
10. เจโตสมถะเก่งมาก กระดูกกลายเป็นพระธาตุก็ได้ แต่พระพุทธเจ้าไม่เคยรับรองให้เป็นแม้แต่พระโสดาบัน ซึ่งควรจะต้องมีญาณรู้เห็นการจำแนกแยกแยะ นามรูปปริเฉทญาณะ รู้เห็นวีติกกมะกิเลสของตนว่าผ่านแล้ว เหลือแต่ปริยุฏฐานกิเลสเท่านั้นที่จะต้องจัดการ ไม่ใช่ไปกดข่ม ไปหลงดับไม่รับรู้อาการกิเลสที่เกิดอาการขึ้น ... ส่วนผู้ที่ดับเจโตให้วิมุติได้แล้ว แต่ยังไม่รู้ตัวด้วยญาณปัญญาว่าหลุดพ้นแล้ว พระพุทธเจ้าก็ไม่รับรองว่าเป็นอรหันต์เลย มีหลักฐานจากทักขิเนยบุคคล ๗ เช่น กายสักขีที่ได้เจโตสมถะ ซึ่งสามารถทำให้อาสวะบางส่วนสิ้นไปได้ แต่จะต้องมาปฏิบัติให้มีฌานแบบพุทธ ได้วิโมกข์ ๘ จึงจะหลุดพ้นด้วยปัญญา พ่อท่านอธิบายวิโมกข์ ๘ สามข้อแรก และข้อที่๔ คือ การหลุดพ้นไปจากรูปสัญญา เห็นความว่าง โล่ง หาที่สุดมิได้ ส่วนข้อที่ ๕ คือ หลุดพ้นออกไปจากอากาสานัญจาฯ ... ฯลฯ
11. พ่อท่านอธิบายอรูปภพทั้งแบบฤาษีและแบบของพุทธ ว่าปฏิบัติต่างกัน มีผลต่างกันอย่างไร ฤาษีหลุดพ้นเข้าไปสู่ภวังค์ความว่างนั้น จะรู้สึกตกผึง พอรู้ตัวว่ามีความรู้สึกตัวก็ออกมาสู่วิญญาณ ครั้นอยากได้ยังงั้นอีกทีก็จะทำยากขึ้น ... ฯลฯ อุทกดาบสเก่งกว่าอาฬาฬดาบส เพราะเขาข้ามไปรู้สึกตัว แล้วก็ดับความรู้สึกตัว(ในขั้นวิญญาณัญจาฯ)อยู่เรื่อยๆ ไปสู่อากิญจาฯ
12. พ่อท่านปรามว่า เรื่องฌานแบบนี้เป็นอุตริมนุสธรรม ที่ใครไม่มีสภาวะของพุทธจริงๆ แล้ว อย่าอุตริไปอธิบาย เพราะจะหลงไปเอาการปฏิบัติแบบฤาษีมาอธิบายว่าเป็นแบบพุทธ ซึ่งจะทำให้แก่นแท้ของการวิมุติหลุดพ้นของพุทธศาสนาจะเสียไปหาแบบฤาษี ...
13. วิเวก ๓ พ่อท่านว่าจะอธิบาย แต่หมดเวลาก่อน เลยแซวท่านเดินดินว่าเอาแต่นั่งฟัง และบันทึก พ่อครูสงสัยว่าเอาอะไรมาทำการบันทึก ท่านเดินดินตอบว่าไอแผด พ่อครูถามว่าไอแผดต่างจากไอโฟนยังไง (ไอโฟนเป็นโทรศัพท์ ไอแผดเป็นกระดานชนวนแบบใหม่) พ่อท่านอ่านย้ำเรื่องสถานที่ที่จะไปยื่นฟ้อง ท่านเดินดินสรุปว่าไม่อาจถามแทรกอะไรได้เลย ซึ่งพ่อท่านตอกย้ำทฤษฎีของพุทธให้สัมมาทิฏฐิ การอยู่ป่า ถ้าสมาธิไม่ดีแม้ไปอยู่ป่า ก็จะจมกับลอย สมณะเราขอไปอยู่วิเวกแต่ติดง่วงจนลืมตาไม่ขึ้น ควรมักน้อยสันโดษตามทฤษฎีของพุทธ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น