วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

55-4-5 บันทึกย่อพ่อเทศน์ ผ่าตัดโอปปาติกสัตว์ ๔



‎"ผ่าตัดความเป็นโอปปาติกสัตว์ ตอนที่ ๔"
บันทึกย่อพ่อครูเทศน์ ปลุกเสกฯ ๓๖ FMTV บ้านราชฯ 
พฤ. ๕ เม.ย. ๒๕๕๕ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง เริ่มเวลา 04:03 น.
บันทึกย่อโดย ใจแปลง สู่แดนธรรม
ที่มา   http://www.facebook.com/groups/188545584512043/permalink/379547045411895/


เชิญคลิกฟังคลิป "ผ่าตัดความเป็นโอปปาติกสัตว์ ตอนที่ ๔"

1. วานนี้พ่อท่านแวะอธิบายวิญญาณฐีติ๗ วิโมกข์๘ สัตตาวาส๙ อันความเป็นสัตว์นั้นหมายถึงนามธรรม คือองค์ประชุมของจิต ที่มีองค์ประชุมของความเป็นสัตว์ชั้นต่ำ ชั้นสูง กายต่างกันหมายถึงความมีสัตว์ทางโอปปาติกะต่างกัน แล้วกำหนดสัญญาในความเป็นสัตว์นั้นก็ต่างกัน 

 2. พ่อท.แจ้งให้ผู้ชมทางบ้านเข้าใจว่า รายการภาคเย็นคืออะไร ก็คือการรายงานผลจากการที่ปฏิบัติมาได้อะไรบ้าง ที่เกิดประโยชน์ต่อตนและต่อผู้อื่น ประโยชน์อีกอย่างที่จะเกิดเร็วๆ นี้ก็คือ งานขายของต่ำกว่าราคาทุน ตลาดอาริยะ ในช่วงสงกรานต์ 



3. ในสังขารมีเหตุคืออะไรคือจิต ในจิตมีอะไรมีอวิชชา อวิชชาอยู่ที่กายหรืออยู่กับสมองไม่ได้ อวิชชาเกิดสังขารที่มีเหตุและผล ถ้าเหตุเพราะอวิชชาพาโง่ ผลสังขารก็คือเอาความโง่ไปปรุงแต่งให้เกิดขึ้นในตน และแผ่ออกไปสู่สังคม 

4. พ่อครสอนกัมมันตะชนิดละเอียด คือมิจฉา๓นี้ มนุษย์จึงมักแสวงหา ๑.ปาณาติบาตอันละเอียด คือ การเบียดเบียนตน เบียดผู้อื่นด้วยโทสะมูล เอาเปรียบเขาด้วยดำริอยากชนะเขาให้ได้มาซึ่งกำไร ๒.อทินนาทาน ให้ได้มาสมโลภ ได้มาโดยการผู้อื่นมิได้ให้ ๓.เมื่อเบียดเบียนเขามาด้วยปาณาติบาต และอทินนาทานแล้ว จึงได้เสพรสความสุข จากการแย่งชิงข้าวของผู้อื่นเป็นเจ้าของ 


5. เพราะใจเรามีอวิชชา จึงดำริสังขารปรุงแต่งไปในทางวิหิงสา จึงเบียดเบียนแล้วจึงได้เสพความสุขจนสมใจในกามความอยาก พ่อท่านให้อ่านธาตุดำริของจิตที่มีความพยายาม ตักกะ วิตักกะ สังกัปปะ นี้แหละคือสังขาร ที่มีแกนจิต มีองค์รวมจากใจตั้งมั่นอย่างแข็งแรงเท่าที่จะมีแรงสกัด (อัปปนา พยัปปนา วจีสังขาร) มาจากจิตอันเป็นประธานนี้ ต้นทางธรรมหากจิตมีอุตริมนุสสธัมสูง จะปรุงแต่งออกไปอย่างไร ก็ไม่มีอวิชชามาสังขารร่วม กรรมที่แสดงออกไปก็ไม่มีโลภ พยาบาท ยิ่งมีความจริงใจที่จะทำประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน โดยจิตไม่มีวิหิงสา(เบียดเบียนตน)อีกแล้ว 

6. พระอนาคามีหมดการเบียดเบียนผู้อื่นด้วยกามแล้ว ยังเหลือแต่การเบียดเบียนตน เพราะมีเศษรูปราคะ และยึดตนเองเพราะมานะถือดี จึงปรารถนาดีต่อผู้อื่นด้วยการไปเคี่ยวเข็ญให้ผู้อื่นได้ดี เป็นการกระทบผู้อื่น มานะเป็นตัวหลักของมโนสัญเจตนา ที่มุ่งไป ปรารถนาไป มีอิจฉาวจรให้มีบทบาท ทำออกไปมีผลต่อโลก ที่ต้องประมาณให้ดีแล้ว ก่อกายกรรมออกมาจากจิตที่มีหลักแกน แล้วก็ปรุงแต่ง ตักกะ วิตักกะ ออกแบบความคิดปรุงแต่งด้วยอภิสังขารแล้ว จึงเป็นสังกัปปะสังขาร เป็นวจีกรรม เป็นกายกรรม นี้คือลักษณะของผู้ทำสมาธิในขณะลืมตาของพุทธ 

7. การฟังธรรมจากพ่อท่าน หรืออ่านงานเขียนก็ตาม ฟังไปก็ย่อมมีการตรวจสอบธรรมวิจัยไปในตัว รู้วิญญาณดับหรือการขจัดสัตว์ตัวร้ายตัวพาเสื่อมในวิญญาณออกไปได้ จนจิตไม่มีวิญญาณสัตว์ชนิดนั้นได้แล้วอย่างตั้งมั่น นี่แหละคือสมาธิ เราต้องรู้จักสัตว์ในจิตวิญญาณ หรือสัตว์โอปปาติกะของเรา ให้รู้ไปตั้งแต่สัตว์อบาย สัตว์กามภูมิ ฯลฯ สำนักอื่นเขาทำสมาธิให้จิตตั้งมั่น แต่ไม่รู้จักทำลายสัตว์อบาย เอาแต่ฝึกสติหยุดให้หยุดเก่งๆ สติรู้-ดับ รู้-นิ่งเฉย ทำจิตดับไม่กำหนดหมายอะไรได้เก่งๆเข้า ก็เข้าใจว่าตนเองเป็นอรหันต์ 

8. การปฏิบัติแบบมีสติรู้ตัวแล้วก็ดับ โดยไม่มีสัมปชัญญะ จึงไม่มีความต่อเนื่องไปถึง สัมปชานะ ที่เป็นการปฏิบัติอย่างมีการเลือกเฟ้นเหมือนธัมมวิจัย แล้วจึงส่งต่อไปยัง สัมปัชชติ ที่เป็นความรู้ตัวในขณะทำลายความไม่ดี เผาด้วยไฟฌานเป็นต้น แล้วจึงมีผลจากการเผาก็คือ จิตจึงมีความสว่างเรืองรอง เป็นสัมปัชชลติธาตุ จึงจะบรรลุเป็นสัมปัตตะ หรือสัมปันนะ 



9. (พยาบาทแท้ๆ แล้วก็คือ ความปองร้ายอยากให้ผู้อื่นเสียผล แต่ตนได้) พ่อท่านแวะวิเคราะห์ให้รู้ว่า คนไปหลงขลังในความศักดิ์สิทธิ์ของพระพรหม ก็เพราะไปบนแล้วก็เจอแต่คนที่มาแก้บนในบริเวณนั้น จึงเข้าใจว่าพระพรหมองค์นี้ช่างศักดิ์สิทธิ์ บันดาลให้คนสมหวังดีจัง ส่วนคนที่ไม่สมหวัง เขาพวกนั้นซึ่งมีจำนวนมากกว่าก็ไม่มาแก้บนเลย คนที่ไปไหว้ศาลก็ไม่เจอแต่คนจำพวกที่สมหวังนี้มาแก้บนกันทั้งนั้น 

10. คนสายพุทธแท้แม้ไปนั่งหลับตาทำสมาธิ ย่อมรู้จักองค์ประกอบของสัมมาอริยมรรคมีองค์ ๘ รู้สัมมาสังกัปปะ รู้การปรุงแต่งของจิตที่ไม่มีกาม พบาบาท อวิหิงสา ... เห็นภาวะเจโตวิมุติที่ไม่มีกิเลสในจิตของตน เกิดความสว่างก็เพราะมันสว่างของจิตที่ว่างโล่ง ไม่ใช่ไปเห็นสว่างเพราะเกิดนิมิตปรุงแต่งขึ้น 

11. พ่อท่านสอนการตรวจสอบความหลุดพ้น ด้วยอัปปนาสมาธิ ตรงที่ จิตมีความดำริริเริ่มอย่างไร รู้จักสังขาร วจีสังขาร โดยไม่มีกิเลสปรุงแต่งร่วม ก็ปล่อยกรรมออกไปทำงานโดยไม่ต้องมีอาชีวตภัย (ไม่เดือดร้อนเพราะการใช้ชีวิต) ไม่มีอสิโลกภัย (คือไม่ต้องกลัวใครจะตำหนิ) ไม่มีปริสสารัชภัย คือไม่ต้องสะทกสะท้านต่อสังคม ฯลฯ 

12. ส่วนปัญญาวิมุตินั้น พ่อท่านสอนให้รู้ว่า เป็นปัญญาที่รู้เห็นว่าจิตมีนิโรธด้วยเจโตวิมุติ รู้เห็นวิญญาณสัตว์ชนิดนั้นๆ มันดับไป แม้จะทำให้ดับมาได้ตั้งนานแล้วด้วยเจโตวิมุติ แต่เพิ่งจะมารู้จริงด้วยปัญญาในขณะนี้ก็ตาม (ผมเห็นว่าจึงต้องถือว่าเอาตามปัจจุบันขณะนั้นเป็นการบรรลุ รู้แจ้งด้วยปัญญาในขณะนั้น ไม่ใช่ไปนับเอาตอนที่เจโตวิมุติตอนโน้นแต่ก็ยังไม่รู้ว่าบรรลุ) 

13. พ่อท่านอ่านและอธิบายต่อ เพราะอวิชชามีในจิต จึงสังขารโดยทำสติปัฏฐานไม่เป็น เพราะสติไม่เข้าข่ายสติสัมโพชฌงค์ จึงไม่มีปัญญาทำการวินิจฉัยด้วยธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ และแม้ทำการประหารด้วยสัมมัปปธานก็ย่อมทำไม่เป็น ถ้าทำเป็นก็ขจัดสัตว์ร้ายให้ดับไปจากวิญญาณ ก็นี้แหละคือความสงบ ควรรู้จักความสงบขั้นด๊อกเตอร์บ้าง สงบอย่างหลับตาทำสมาธิมีสติรู้แล้วก็หยุดๆ จนสงบนั้น มันเก่าแล้วล่ะลุง



ไม่มีความคิดเห็น: