วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

55-3-22 พระโพธิสัตว์สอนสัมมาสมาธิ


ขียนโดย.. ใจแปลง สู่แดนธรรม
พระโพธิสัตว์สอนสัมมาสมาธิ ที่เป็นสมาธิของพุทธโดยเฉพาะ (พฤ. ๒๒ มี.ค. ๒๕๕๕)


พระพุทธเจ้าตรัสแสดงถึงวิธีกระทำให้เกิด สัมมาสมาธิ อันเป็นสมาธิของพระอาริยะที่มีความประเสริฐนี้แหละ ว่าจะต้องทำอย่างไรให้มีองค์ประกอบ ฯลฯ แต่เมืองไทยเรา แม้มีต่างชาติให้การยอมรับว่าเป็นเมืองที่มีความเป็นที่เจริญที่สุดกว่าชาติอื่นๆ ก็ยังพูดกันไม่ค่อยจะรู้เรื่องเลยว่า “สมาธิแบบพุทธนี้ เป็นอย่างไรกันแน่” (เพราะไม่ใช่สมาธิทั่วไปตามสาธารณะสากลทั้งหลาย)

อาตมาพยายามอธิบายมาแล้ว ก็ยังเข้าใจกันยาก เพราะไปหลงยึดมั่นเสียแล้วว่า การทำสมาธิต้องเกิดจากการนั่งหลับตา เข้าไปอยู่ในภวังค์เท่านั้น จึงจะเป็นสมาธิ



แต่สมาธิของพุทธที่เป็นสัมมาสมาธินั้น สามารถปฏิบัติได้ตลอดเวลาในขณะลืมตา รู้เห็นไปในขณะทำการงานได้ตามปกติ ไม่ต้องไปหาเวลาว่างพิเศษเพื่อไปปฏิบัติสมาธิเลย คือจะต้องเข้าใจในสมาธิให้สัมมาทิฐิ ดีๆ ถ้าปฏิบัติแล้วจะทำให้ “วิญญาณดับ” ได้ หรือ ดับความเป็นสัตว์ออกไปจากตนได้ แล้วจิตของตนก็มีความ “ตั้งมั่น” โดยไม่มีความเป็นสัตว์นั้นๆ เกิดขึ้นมาอีกเลย การ “ตั้งมั่น” อย่างนี้นี่แหละคือ “สัมมาสมาธิ” ของพุทธที่แตกต่างจากสมาธิทั่วไป ทั้งมรรควิธี และ “ผลของการปฏิบัติ” ฯลฯ


ใจแปลง สู่แดนธรรม เขียนที่ช่องความคิดเห็นต่อ ว่า..ที่แตกต่างจากสมาธิทั่วไป ทั้งมรรควิธี และ “ผลของการปฏิบัติ” ฯลฯ หมายถึง สมาธิของพุทธนั้น วิธีกระทำให้เกิดสมาธิก็แตกต่างไปจากลัทธิอื่น เช่น ลัทธิอื่นเขามีวิธีทำโดยการนั่งหลับตา สะกดจิต ให้จิตจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน จนจิตรวมตัวกันเป็นความสงบ เขาก็เรียกว่าเข้าสมาธิ ซึ่งวิธีแบบนี้เขาก็ทำกันมากทั้งโลก แต่มันไม่มีความตั้งมั่นไปตลอดชีวิต เพราะเดี๋ยวก็จะต้องออกจากสมาธิ มากิน มาพูด มาทำงาน

ผิดจากวิธีการกระทำให้จิตเกิดสมาธิ คือ จิตมีความตั้งมั่นแท้จริงของพระพุทธเจ้าทรงสอน ที่สอนให้กระทำโดยลืมตา ทำกิจการงานได้อยู่อย่างปกตินี้แหละ แต่ก็ปฏิบัติอยู่กับ มรรค ๗ เป็นองค์ประกอบให้เกิดความเปลี่ยนแปลง จนหยั่งลง ตั้งมั่นลง คือ

๑. มีการเปลี่ยนความเข้าใจ ให้เข้าใจถูกต้องเสียใหม่ เรียกว่าเปลี่ยนทิฐิใหม่ทั้ง ๑๐ ประการ จึงจะเลิกเข้าใจผิด เลิกไปทำสมาธิแบบมิจฉาสมาธินั้นเสียก่อน

๒. มีการอ่านความคิด รู้เท่าทันความคิดปรุงแต่ง ๓ อย่าง แล้วปรับความคิดปรุงแต่งทั้งสามนั้น ไม่ให้มีสัตว์เหล่านั้นเกิด คือ ๑. สัตว์ที่ใคร่อยากในการได้เสพของอร่อย ทั้งกามภพ ลาภ ยศ สรรเสริญ ความสุขทั้งหลาย ๒.สัตว์พยาบาท ปองร้าย ๓.สัตว์ที่บ้าพลังหวังจะเอาคืน หวังจะเบียดเบียนเขาต่างๆ นานา ...

นี่แหละ ความคิดปรุงแต่งสามอย่างนี้เท่านั้น ที่จะต้องทำให้มันดับไป ถ้าความคิดปรุงแต่งที่ดีๆ ที่เสียสละ ที่จะบริหารให้เกิดการช่วยเหลือกันในทางที่ดี จะไปดับการปรุงแต่งทำไม (เห็นสอนกันนักว่า ดับการปรุงแต่ง ดับการปรุงแต่ง แล้วเป็นยังไงก็ไม่เห็นมีใครบอกได้ถูกต้องเลย)

๓. มีการพูดก็พูดไปตามปกติ ไม่ใช่ว่า ทำสมาธิหรือเข้าสมาธิแล้วจะพูดไม่ได้เลย .. ก็พูดได้ แต่อย่าไปพูดให้มีวิญญาณสัตว์ชั้นอบายเข้ามาบงการ ให้พูดไปในทางมักมาก มักได้ หรือมักเบียดเบียนเขา ให้เขาตกอยู่ในอำนาจจนหลงเชื่อ หลงศรัทธา จนยอมมอบตนอยู่ในทางที่โลภ เป็นบริวารที่ยอมจัดสรรหามาให้ได้สมความโลภ ให้ได้มากๆ เพราะมักมาก มักใหญ่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

๔. การกระทำจนเกิดกายกรรม วจีกรรม ที่ออกมาจากมโนกรรม ๕. รวมทั้งความประพฤติตนทำมาหาเลี้ยงชีพ ก็ย่อมเป็นปัจจัยในการทำให้คนเรา มีกายสุจริต วจีสุจริต เพราะมโนสุจริต ไม่คิดทำมาหากินที่ไปคดโกง ไปหลอกลวงเขา ไปทำให้เขายอมตกอยู่ในเงื่อนไขที่มีผลประโยชน์กลับมาหาคุณ ฯลฯ

ซึ่งทั้ง ๕ ประการที่ว่ามานั้น ก็เป็นเรื่องปกติที่คนเราสามารถ จับมาศึกษา และปฏิบัติละกิเลส ละมิจฉา ให้เกิดสัมมาได้ทุกๆ ขณะ ทุกๆ สถานที่ ได้อยู่แล้ว โดยอาศัยมรรคที่๖ และมรรคที่๗ ช่วยเป็นพลังห้อมล้อมเอาไว้ตลอด คือ มีความพยายาม และมีสติ กำกับเอาไว้ทุกมรรค ... สรุปแล้ว ทั้ง ๗ มรรค คือ ความเห็นความเข้าใจ

สรุปแล้ว ทั้ง ๗ มรรค คือ ๑.ความเห็นความเข้าใจ ๒.ความคิดปรุงแต่ง ๓.คำพูด ๔.การกระทำ ๕.การทำมาหากิน ๖.ความพยายาม ๗.ความรู้ตัว ต่างก็เป็นวิธีการกระทำเพื่อขจัด หรือทำลายสัตว์ตัวเสื่อมออกไป จนสั่งสมแต่พลังที่เป็นกุศลอย่างแข็งแรง ตั้งมั่น หยั่งลงไปสู่การเป็นมรรคที่ ๘ ได้เอง คือ สมาธิ ที่เป็นสัมมาสมาธิของพระอาริยะ ที่ประเสริส เพราะมีงานมีการ มีการทำคุณค่า ทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้ด้วย และก็ยังทำให้กิเลสหรือสัตว์เสื่อมๆ ตายลงไปได้อีกด้วย

นี้แหละคือ วิธีการทำสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสอน เป็นสมาธิของพระองค์เอง จนแตกต่างไปจากสมาธิสาธารณะทั้งหลาย ที่พระองค์เรียกว่าเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะมันไม่ได้ทำให้กิเลสตัณหาอุปาทาน ที่ฝังลึกอยู่ในอาสวะลึกๆ นั้น ไม่ได้ถูกขุดขึ้นมาทำลายได้เลย

ที่เรียกว่า มิจฉาสมาธิ ก็เพราะ สมาธิแบบนั้นมีผลแค่ทำให่้จิตสงบ แล้วก็.. อย่างเก่งก็ได้ความวิเศษแบบฤาษีทั้งสอง ที่เป็นอาจารย์ของเจ้าชายสิทธัตถะเท่านั้น สมาธิแบบนั้นเก่งมากถึงขั้น ละรูป ละความว่าง ละการกำหนดรู้ จนไปได้ "เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ" พระองค์ก็ยังบอกว่า ยังเหลือความเป็นสัตว์ขั้นนั้นอยู่ ไม่ได้มีนิพพานอะไรเลย จึงเป็นมิจฉาสมาธิ เพราะวิญญาณไม่ได้ดับความเป็นสัตว์ จนหมดความเป็นสัตว์ จนไม่มีการผูกสัตว์เอาไว้อีกเลย

ใครที่นั่งหลับตาทำสมาธิมามากกว่า ๒๐ ปีแล้ว คุณทำได้จนเทียบถึงอาจารย์ของเจ้าชายสิทธัตถะได้แล้วหรือยัง ... แม้ยังทำได้ไม่เก่งถึงขั้นนั้น ก็จงรู้ไว้เถิดว่าคุณก็ยังจะมุ่งหน้าไปเป็นแบบนั้นทำไม



ไม่มีความคิดเห็น: