วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

55-3-26 บันทึกย่อพ่อเทศน์ เรียนอิสระฯ


เขียนโดย : ใจแปลง สู่แดนธรรม
บันทึกย่อพ่อเทศน์ เรียนอิสระฯ FMTV บ้านราชฯ ตอน.. "เรียนให้เป็นคนประเสริฐ"
จั ๒๖ มี.ค. ๒๕๕๕ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง เริ่มเวลา 18:03 น.


อ.กฤษฎาถามจากห้องส่งกทม. พ่อท.ตอบจากห้องส่งอุบลฯ .. พ่อท่านย้ำจ้ำจี้ในเรื่องความเป็นสัตว์ ความดับสัตว์ ผู้ที่เป็นน้ำชาล้นจอกอยู่ก็ยังนึกว่าพ่อท่านมีอัตตาวนอธิบายอยู่ ... ปิดปาก ปิดตา ปิดหู คืออย่างไรบ้างนั้น ก็คือวิธีปฏิบัติธรรมนอกรีตของพุทธ การปิดทวารนั้นไม่ใช่ทฤษฎีของพระพุทธเจ้า แต่ให้เปิดตาหูจมูกให้หมด แต่ก็ให้มีสติสังวรและกำจัดออก จนเห็นความไม่เที่ยงเพราะเราได้จัดการทำให้มันหมดฤทธิ์ลงไม่เหลือเท่าเดิม จนมันไม่มีตัวตน

จะมีเฉพาะอานาปานสติเท่านั้นที่จะต้องพิจารณาจิตในจิต ซึ่งจะต้องพิจารณากายระงับลงให้ได้เสียก่อน คือกายสุจริตได้ ไม่ใช่กายไปนิ่งอยู่เฉยๆ จิตระงับก็เช่นกัน คือ จิตไม่มีกามวิตก ไม่มีพยาบาทเข้ามาสังขารปรุงร่วม ไม่ใช่หมายถึงจิตไม่ต้องคิดอะไรเลย

พ่อท่านอธิบายธรรมะไม่ตรงกับของผู้รู้อื่น ก็ไม่เหมือนกับสิ่งที่เขายึดถือกันว่าถูก เพียงแต่บอกว่าอย่างไรผิด อันที่ไม่ถูกก็ไม่ถูก ซึ่งก็ไม่ได้หมายถึงไปข่มผู้อื่นเลย และพ่อท่านก็ไม่ได้ประสงค์จะหาบริวาร ให้มีคนมาเคารพนับถือมาก ฯลฯ แม้พ่อท.จะได้ชาวอโศกมา ก็ไม่ได้โฆษณาหาเสียงหลอกล่อเอามา เลย ทั้งๆ ที่มาที่นี่ก็มาจน ต้องทิ้งลาภ ทิ้งยศ สรรเสริญ ละความสุขที่ต้องบำเรออัตตาตน เขาก็มาได้เองอย่างผู้รู้จักละ รู้จักเสีย คือได้บุญ บุญก็คือได้การเสียที่มีแต่เสียกับเสีย ไม่ใช่ไปแปลคำว่าบุญนั้นเป็นสิ่งที่ได้ ต้องแปลว่าเสีย


พระสูตรว่า ผู้มีทรัพย์มาก เมื่อตายจากทรัพย์ไปแล้วก็ไม่ได้ช่วยให้ขึ้นสวรรค์ได้เลย ยศก็ไม่ได้ช่วยให้จิตวิญญาณให้ใหญ่โตขึ้นเลย ... พ่อท่านชวนคนมาจน ..การได้ลาภยศกลายเป็นการพอกพูนกิเลส เพราะไม่เข้าใจโลกุตระ จึงไปเห็นว่าธรรมะนั้นก็ยังเป็นโลกียธรรมอยู่ คือนิยมบูชาและปรารถนาโลกธรรม ... สัตว์โลกก็คือสัตว์ที่ยังหลงอยู่ในลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขอยู่นั่นเอง สุขก็สุขเท็จๆ (อัลลิกะ) อยากได้ยศก็เพื่อจะได้เสริมลาภเพิ่มขึ้นอีกนั่นเอง แท้จริงแล้วยศคือ อำนาจหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบดูแลการงาน

โลกอบาย โลกกามคุณ โลกสรรเสริญ โลกอัตตา (เป็นโลกของอนาคามี) ... พ่อท่านไล่ลำดับธรรมะของผู้ออกจากเรือน มาจนถึงความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ไม่สะสม แล้วโยงเข้าสู่พระราชดำรัสของในหลวงเรื่อง ขาดทุนของเราคือกำไรของเรา ซึ่งเป็นพระวจนะที่บ่งบอกถึงความสำคัญระดับใหญ่ เพราะตรัสในที่มหาสมาคมของชาติ

ตรัสมาแล้ว ๒๐ กว่าปี ผู้เสียนั่นแหละคือผู้ได้ พ่อท่านก็ว่าผู้มีบุญนี่แหละคือผู้เสีย ส่วนผู้เอาจ้องจะเอานั้นคือผู้มีบาป พ่อท.สอนสร้างแนวทางนี้จนเกิดมีหมู่สังคมมนุษย์เช่นนี้ขึ้นมา ... และว่าไปจนถึงพฤติกรรมของการเสียสละ จัดงานตลาดอาริยะ ฯลฯ นี้คือการศึกษาทั้งกาย วาจา ใจ เป็นกัมมันตะ นี้เป็นการค้าเพื่อช่วยเหลือมนุษยชาติ ยังไม่ใช่สิ่งที่จะแจกฟรีได้ในตอนนี้

พ่อท่านเสนอให้สังคมรู้ว่า เราขาดทุนยังไงจึงอยู่รอด ซึ่งเราคิดค่าต้นทุนเอาไว้ไม่เหมือนกันกับเขา คือ ค่าแรงงาน ค่าหัวสมอง ค่าตัวของเรานี่แหละที่เราไม่คิดด้วย ...คนบริหารระดับบนนั่นแหละ ที่จะตั้งค่าแรงฉ้อฉลให้กับตัวเองได้ ใหญ่โต ทั้ง ขรก.ใหญ่ ก็ด้วย .. ผู้รับล่ะควรรับอย่างไร พ่อครูตอบว่ารับแบบจิตมักน้อย คือใจพอ แม้มีน้อยๆ ก็พอ จิตนั้นพอแล้วที่จะไม่เอามากๆ อสังสัคคะ ก็คือไม่หลงประกอบไปด้วยสวรรค์โลกีย์ ส่วนวิริยารัมภะก็ขยันเสมอ ขยันทำ ขยันสร้าง มีผลผลิตขึ้นมากแต่ก็ไม่สะสม แล้วก็ไม่เอาไปสร้างลาภโดยเอาไปแลกเอาลาภ ดังนั้น จึงเอาไปเจือจานสงเคราะห์ผู้อื่น

อาหาร ที่พัก ยา เครื่องนุ่งห่ม ก็มาจากพืชพันธุ์ธัญญาหารทั้งนั้น นโยบายการขายของอโศก จะผลิตขึ้นมาให้เหลือเฟือ แล้วขายในราคาถูกๆ ไปเสาะหาตลาดที่เขามีความจำเป็น-สำคัญ-ขาดแคลน ไม่ต้องไปทำแบบประชานิยม เราควรสอนเขาให้ทำกินทำใช้ แต่เราขายเพื่อชะลอความขาดแคลนไปก่อน

เราไม่ใช่ว่าจะส่องสายตาจ้องหาตลาดไหนๆ ที่เขาต้องการมาก ขาดแคลนมาก แล้วเราจะได้ขายแพงๆ จะรวยไวๆ ไม่ใช่การตลาดแบบนั้นหรอกนะ การฑูตต่างประเทศของเราจะไม่มีลักษณะนี้เลย



ไม่มีความคิดเห็น: