ตอน.. “ป่ากับความหลงผิดในศาสนา-อาหาร ๔”
1. พ่อท่านว่า ช่วงนี้ก็ยังสอนเรื่องป่าและการออกไปปฏิบัติธรรมในป่า ซึ่งบอกสอนว่ายังงั้นผิด ก็ไม่ได้ถล่มใคร คนที่ถูกกระทบก็จะหาว่าคนนั้นไปทิ่มแทง ไปว่า แต่พ่อท่านเพียงแค่บอกแจ้งสัจธรรม โดยใจมิได้มีอคติไปด้วยกิเลสชังชอบแต่อย่างใดเลย มีกิริยาก็สักแต่ว่ากิริยา เป็นพฤติภาพชั้นสูงที่คนดูเข้าใจยาก การพูดใดๆ ก็ออกมาจากประธานคือจิต ... ทำไมพ่อครูต้องพูดย้ำบ่อยเหมือนแก้ตัวว่าไม่ได้ว่าใคร ก็เพราะส่วนใหญ่ท่านพากันปฏิบัติตรงกันข้าม แล้วพ่อครูเป็นใครมาจากไหน จึงอวดอ้างว่าตนเองปฏิบัติถูกแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งก็ยังไม่มีใครยอมรับ ถือเป็นการตรวจสอบจิตใจพ่อครูว่า ไม่ได้น้อยใจ ไม่ได้ท้อถอย แต่ก็รู้จักถอยตามจังหวะเต้นรำที่เขาเต้นมา
2. เรื่องวิจารณ์การอยู่ป่าเขาว่าไปถล่มเขาทำไม พ่อครูว่าไม่ได้ถล่ม แต่แค่ชี้ว่าอย่างที่ทำกันนั้นมันไม่ถูก จึงขอพูดเถอะ พูดไปแล้วก็รู้ดีว่าต้องมีคนเกลียดชังอาตมาแน่นอน การพูดเช่นนั้นไม่ใช่พูดด้วยความอยากพูด หรือไม่อยากพูด แต่จำเป็นต้องพูดเพื่อชี้บอกสัจธรรมอย่างนี้ จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ไปกระทบใคร เพราะเมื่อพูดดีก็ย่อมไปกระทบกับความดีของคน
3. พ่อท่านอ่าน“ป่ากับพุทธศาสนา”ต่อ เรื่องภิกษุณีออกป่าได้ไหม ไม่ได้หรอกพระพุทธเจ้าห้ามนักบวชหญิงจรไปจรมา แต่ท่านภิกษุณีก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้ โดยไม่ต้องออกป่าเลย .... ตัวไม่ยอมนี้ พ่อท่านผ่านมาหมดแล้วจึงซาบซึ้งมัน ดีที่สุด ยิ่งคนที่คิดว่าเรารู้มาก เราถูกต้อง เราละกิเลสได้ แล้วคนจะมาลบหลู่ มาแย้งมาเถียงกับเราไปทำไม การติดยึดเช่นนี้จึงพาให้อัตตาโต จึงไม่สามารถบรรลุดับอัตตาลงได้ คุณจะเอาชนะให้อัตตาโต หรือจะยอมให้อัตตาตาย
4. เทวดาจะชนะครั้งเดียวคือครั้งสุดท้าย เมื่อชนะแล้วก็จบเลย จึงยิ่งใหญ่ ส่วนอสูรนั้นจะชนะมากและชนะบ่อยๆ ... นี่แหละคือแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร ... การอยู่เหนือโลกนั้น เป็นฉันใด การพูดสอนโดยตำหนิว่ากล่าวว่าเขาผิด เขาไม่ดีนั้น ย่อมมีคนไม่พอใจแน่ๆ พระพุทธเจ้าเอาศาสนาพุทธของพระองค์ไปประกาศนั้น โลกยุคนั้นยังไม่มีศาสนานิพพาน ยังไม่มีโลกุตระเลย โลกุตระนั้นคือตรงข้ามกับโลกียธรรมแต่เข้าใจโลกียสุข สุขของโลกียะก็มีแค่บำเรอสุขด้วยกาม ด้วยบำเรออัตตาให้อิ่มลาภ ยศ สรรเสริญ อันเป็นสุขเท็จ สุขหลอก สุขในการใคร่อยากได้มาบำเรอให้สมใจ
5. ก็มีแต่อัตตาสองส่วนคือ กามและอัตตา ไม่มีมัชฌิมา เมื่อลอกกามออกได้หมดแล้ว ก็เหลือแต่ตัวอัตตาภายในเท่านั้น คือ รูปภพ อรูปภพ คือ ความวนในสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ เวลาจะปฏิบัติก็จะต้องมีผัสสะ แล้วกำหนดรู้ให้เป็น คือรู้เวทนาทั้ง ๓ และต้องกำหนดรู้ ๔ อย่างอีกด้วย คือ อาหารทั้ง ๔ หากกำหนดรู้สิ่งนี้ไม่ได้ ก็จะปฏิบัติธรรมของพุทธไม่เป็น และไม่ได้ผล
6. พ่อครูไล่การกำหนดรู้ไปให้ครบทั้ง ๑๐ อย่าง โดย๔อย่างคือ อาหาร๔ (ก็มีการกำหนดรู้นามรูป จึงจะรู้จักวิญญาณได้ ส่วนกวลิงการาหารได้แก่คำข้าวเลี้ยงกายขันธ์) กำหนดรู้๕อย่างคือ อุปาทานในขันธ์ทั้ง๕ รู้วิญญาณเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย กำหนดรู้๖อย่างคือ อายตนะทั้ง๖ กำหนดรู้๗อย่างคือวิญญาณฐีติทั้ง๗ วิญญาณเข้ามาทำงานโดยมีธาตุรู้ที่ไม่หยุดรู้ แต่นักทำสมาธิก็มักไปสะกดมันไว้ ไม่ให้ธาตุรู้ทำงาน เป็นอสัญญีสัตว์ แล้วก็ไปหลงในการไม่มีการรับรู้นั้นว่า จิตเขาไม่ระคนไปด้วยการปรุงแต่งใดๆแล้ว เขาจึงถือว่าได้นิพพานกันแล้ว
7. พ่อท่านยังไม่เคยเห็นใครสอนอธิบายเรื่องเวทนาทั้ง ๑๐๘ เลย พ่อครูพาสอนให้ปฏิบัติก่อน แล้วมาสอนปริยัติให้ตรวจสอบทีหลัง ส่วนคนอื่นเอาแต่เรียนปริยัติก่อน ไม่มีการปฏิบัติจึงไม่มีข้อสงสัย หรือไม่มีความรู้อะไรเพิ่มขึ้นอีก ... กำหนดรู้ ๘ อย่างคือ โลกธรรม๘ กำหนดรู้ ๙ อย่างคือ สัตตาวาส ๙ พ่อครูกำลังเรียบเรียงเขียนหนังสือ “ฉีกหน้าความเป็นสัตว์” อายตนะ๑๐คือ สิ่งที่ควรกำหนดรู้ ๑๐ อย่าง อันมีภพนอกทั้ง๑๐ ที่คุณต้องดับเบื้องต้นให้หมดกามภพให้ได้ก่อน แล้วจึงจะเลื่อนมาปฏิบัติกับรูปภพ อรูปภพ ภายใน อันเป็นภูมิของอนาคามี จนสามารถเป็นพระอรหันต์กัน
8. พ่อครูขอถามบ้างว่า มีใครบ้างที่มาอธิบายหลักธรรมกันอย่างนี้ ในพุทธการกธรรมเช่นนี้ แม้เรื่องการบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ไม่ได้มาปฏิบัติธรรมให้บรรลุ แต่ว่าพระองค์ท่านทรงมีคุณธรรมที่ได้เคยปฏิบัติธรรมมามาก จนเพียงพอแก่การเป็นพระพุทธเจ้าได้แล้ว ท่านมีสัมมาสัมโพธิญาณครบถ้วนมาหมดแล้ว มีมาก่อนที่จะมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะซะอีก ไม่ใช่จะมีเอาตอนที่ไปนั่งสมาธิ อย่าไปคิดเอาง่ายๆ ดายๆ ... การนั่งสมาธิวันตรัสรู้นั้น พระองค์ทรงตรวจสอบดูเรื่อง “พุทธุปปาทกาละ” อันหมายถึง การตรวจดูถึงความเหมาะสมในทุกๆ ประการ เช่น กาลสมัย บุคคลต่างๆ ที่มีครบพร้อมสมควรแก่การประกาศพุทธศาสนาได้แล้วหรือยัง พ่อท่านรู้ได้เช่นนี้ ก็เพราะมีความรู้ในการเป็นพระโพธิสัตว์
9. การรู้ทางไปโลกุตระเป็นอย่างนี้ คือ ทางไปลดกิเลส ไม่ไปบำเรอมัน ไม่ให้มันได้สมอยาก จึงต้องลำบากในการต่อสู้ก่อน เมื่อคุณเริ่มต่อสู้จริงๆ จึงจะมีอาการจิตโทมนัสเช่นนี้ปรากฏ ขึ้นจริงๆ เมื่อละได้ เอาชนะการต่อสู้ได้ คุณก็จะมีสภาวะโสมนัส ปีติใจ ยินดีที่ชนะได้ ย่อมผ่องใส ย่อมเห็นแจ้งในการดับ ในการนิโรธ พ่อครูจึงอธิบายลักษณะของจิตที่หลุดพ้นออกมาได้ ว่า จะเบา ว่าง สบายๆ ไม่ต้องไปหามาบำเรอมันอีก
10. จิตจึงสงบ จิตมีของจริง เพราะมีเวทนาเช่นนี้กันจริงๆ มีมโนปวิจาร ๑๘ ลักษณะ (เวทนา๓ กับอายตนะ๖ คูณกันเป็น ๑๘) ซึ่งควรจะทำได้จากอายนะภายนอกทั้ง ๕ ก่อน ซึ่งอาหาร ๔ นี้แหละที่เป็นตัวปฏิบัติภายนอกและภายในกันจริงๆ
11. อาหารที่๑ อาหารคือคำข้าวเคี้ยวกิน ที่จะเกิดการเรียนรู้กับอายตนะ๑๐ ก่อน ปฏิบัติกับอาหารจึงตรงกับ การปฏิบัติอันไม่ผิด (อปัณณกธรรม ๓) คือ จะต้องสำรวมอินทรีย์ และรู้ประมาณในการกินอาหาร กินอาหารก็มีผัสสะไปถึงวิญญาณ พ่อครูอ่านปุตตมังสสูตร ไปทีละประโยคและฉีกแยกแยะอธิบายไป อย่างละเอียด (เนื้อความมีว่า เหมือนอย่างว่า ภรรยาสามี ๒ คน ถือเอาเสบียงเดินทางเล็กน้อย แล้วออกเดินไปสู่ทางกันดาร เขาทั้งสองมีบุตรน้อยๆ น่ารักน่าพอใจอยู่คนหนึ่ง เมื่อขณะทั้งสองคนกำลังเดินไปในทางกันดารอยู่ เสบียงเดินทางที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยนั้นได้หมดสิ้นไป แต่ทางกันดารนั้นยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองยังข้ามพ้นไปไม่ได้
12. ครั้งนั้นเขาทั้งสองคนคิดตกลงกันอย่างนี้ว่า เสบียงเดินทางของเราทั้งสองอันใดแลมีอยู่เล็กน้อย เสบียงเดินทางอันนั้นก็ได้หมดสิ้นไป แล้ว แต่ทางกันดารนี้ยังเหลืออยู่ เรายังข้ามพ้นไปไม่ได้ อย่ากระนั้นเลย เราสองคนมาช่วยกันฆ่าบุตรน้อยๆ คนเดียว ผู้น่ารัก น่าพอใจคนนี้เสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง เมื่อได้บริโภคเนื้อบุตรจะได้พากันเดินข้ามพ้นทางกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น ถ้าไม่เช่นนั้นเราทั้งสามคนต้องพากันพินาศหมดแน่
13. ครั้งนั้น ภรรยาสามีทั้งสองคนนั้น ก็ฆ่าบุตรน้อยๆ คนเดียวผู้น่ารัก น่าพอใจนั้นเสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง เมื่อบริโภคเนื้อบุตรเสร็จ ก็พากันเดินข้ามทางกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น เขาทั้งสองคนรับประทานเนื้อบุตรพลาง ค่อนอกพลางรำพันว่า “ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของฉันไปไหนเสีย ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของฉันไปไหนเสีย” ดังนี้
14. เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นอย่างไร คือว่าเขาได้บริโภคเนื้อบุตรที่เป็นอาหาร เพื่อความคะนอง หรือเพื่อความมัวเมา หรือเพื่อความตบแต่ง หรือเพื่อความประดับประดาร่างกายใช่ไหม ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า จึงตรัสต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้น เขาพากันรับประทานเนื้อบุตรเป็นอาหารเพียงเพื่อข้ามพ้นทางกันดารใช่ ไหม .. ใช่ พระเจ้าข้า พระองค์ทรงสอนในข้อนี้ว่า เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ “กวฬิงการาหาร” ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ความยินดีซึ่งเกิดแต่เบญจกามคุณ
15. พ่อท่านผ่อนให้เบาลงด้วยการพูดปกิณ กะ ... และอธิบายถึงอาหารขั้นที่ ๒ คือ ผัสสาหาร อ่านจากพระพุทธเจ้าสอนภิกษุว่า “ก็ ผัสสาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร?” เหมือนอย่างว่า แม่โคนมที่ไม่มีหนังหุ้ม ถ้ายืนพิงฝาอยู่ก็จะถูกพวกตัวสัตว์อาศัยฝาเจาะกิน ถ้ายืนพิงต้นไม้อยู่ ก็จะถูกพวกสัตว์ชนิดอาศัยต้นไม้ไชกิน
16. หากลงไปยืนแช่น้ำอยู่ ก็จะถูกพวกสัตว์ที่อาศัยน้ำตอดและกัดกิน ถ้ายืนอาศัยอยู่ในที่ว่าง ก็จะถูกมวลสัตว์ที่อาศัยอยู่ในอากาศเกาะกัดและจิกกิน เป็นอันว่าแม่โคนมตัวนั้นที่ไร้หนังหุ้มจะไปอาศัยอยู่ในสถานที่ใดๆ ก็ถูกจำพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นๆ กัดกินอยู่ร่ำไป
17. พ่อท่านสอนว่า ผัสสะนั้นมันมีอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีผัสสะแล้วก็ล้วนแต่มีทุกขเวทนา สุขนั้นไม่มีหรอก มีแต่สุขเท็จๆ สุขลวงๆ การละออกกำจัดให้ถูกตัวตนมัน แล้วความสุขเท็จๆ ก็จะจางออกไป พ่อท่านว่า ควรแปลจากแม่โคไม่มีหนังหุ้ม ว่า สัมผัสทีไรมันก็มีแต่แสบทุกที ไม่มีสุขเวทนากันหรอก พระองค์ทรงสอนในข้อนี้ว่า เมื่ออริยสาวก “กำหนดรู้ผัสสาหาร” ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้เวทนาทั้งสามได้ พ่อท่านสอนด้วยมูลสูตรอีกว่า การปฏิบัติจึงต้องอาศัยผัสสะ ถ้าไม่มีผัสสะก็ไม่มีที่เกิดเวทนา เมื่อเกิดเวทนา จึงได้เรียนรู้วิจัยในเวทนาทั้ง ๑๐๘
18. ให้ลองปฏิบัติละพรากดู ไม่ให้มันได้เสพความอร่อยที่เคยชิน มันก็จะเกิดความไม่เที่ยงให้เราได้เห็น ... มโนสัญเจตนาหาร ก็เป็นอาหารที่มีความมุ่งมาดปรารถ นา ให้กำหนดเรียนรู้จัก ตัณหา ๓ ที่ควรละล้างกามภพให้ได้โสดาฯ สกิทาฯ ให้ได้ก่อนเลย แล้วจึงค่อยไปละล้างรูปภพ อรูปภพ ที่เหลือ ... พ่อท่านสอนเวทนาเชื่อมต่อไปจนถึงปฏิจจสมุปปบาท ที่มีสังขารเพราะอวิชชามาสังขารร่วม
19. เมื่อคุณพยายามปฏิบัติ จนดับได้ เกิดไฟฌาน จนมันมอด มันดับ จึงเห็นนิโรธ ฌานก็คือเหตุที่ปฏิบัติ ในจรณะ ๑๕ นั้นมีเหตุที่ปฏิบัติให้ได้ฌาน จาก ๗ ประการ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยะ สติ ปัญญา จึงจะเกิดฌานทั้ง ๔ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จาก วิโมกข์ ๘ ได้อีก ... มโนสัญเจตนาหาร จึงให้ปฏิบัติละกามภพ จึงจะจัดการส่วนที่เหลือรูปภพ อรูปภพ ทีหลัง คำว่า วิภวตัณหา จึงคือตัณหาที่ปรารถนาความไม่มีกามภพ และไม่มีภวภพนั้นๆ เลย
20. และเมื่อดับตัณหาทั้ง ๒ ได้แล้วท่านผู้นี้ก็ยังมีความต้องการได้อยู่ เป็นวิภวตัณหาที่ดี เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าเองก็ยังปรารถนาที่จะสร้างศาสนาให้ตั้งมั่นขึ้นได้ก่อน ดังมีหลักฐานที่พระองค์ตรัสกับมาร ว่า “...หากภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นสาวกและสาวิกาของเราจักยังไม่ เฉียบแหลม ยังไม่ได้รับคำแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ยังปฏิบัติธรรมไม่สมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรมที่เรียนกับอาจารย์ ของตนแล้ว ยังบอกแสดงบัญญัติแต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ และข่มขี่ปรัปวาทะที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯลฯ . (ตรัสกับมาร พตปฎ.เล่ม ๑๐ ข้อ ๑๐๒)
บันทึกย่อพ่อเทศน์ เรียนอิสระฯ FMTV สันติฯ
ศุ. ๒๗ เม.ย. ๒๕๕๕ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง เริ่ม 18:07 น.
คลิปรายการย้อนหลัง "เรียนอิสระ(ตามสำนึก)"
27 เมษายน 2555 โดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์
ถ่ายทอดสดจาก fmtv กรุงเทพฯ ความยาว 2.03 ช.ม
2. เรื่องวิจารณ์การอยู่ป่าเขาว่าไปถล่มเขาทำไม พ่อครูว่าไม่ได้ถล่ม แต่แค่ชี้ว่าอย่างที่ทำกันนั้นมันไม่ถูก จึงขอพูดเถอะ พูดไปแล้วก็รู้ดีว่าต้องมีคนเกลียดชังอาตมาแน่นอน การพูดเช่นนั้นไม่ใช่พูดด้วยความอยากพูด หรือไม่อยากพูด แต่จำเป็นต้องพูดเพื่อชี้บอกสัจธรรมอย่างนี้ จึงเลี่ยงไม่ได้ที่ไปกระทบใคร เพราะเมื่อพูดดีก็ย่อมไปกระทบกับความดีของคน
3. พ่อท่านอ่าน“ป่ากับพุทธศาสนา”ต่อ เรื่องภิกษุณีออกป่าได้ไหม ไม่ได้หรอกพระพุทธเจ้าห้ามนักบวชหญิงจรไปจรมา แต่ท่านภิกษุณีก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้ โดยไม่ต้องออกป่าเลย .... ตัวไม่ยอมนี้ พ่อท่านผ่านมาหมดแล้วจึงซาบซึ้งมัน ดีที่สุด ยิ่งคนที่คิดว่าเรารู้มาก เราถูกต้อง เราละกิเลสได้ แล้วคนจะมาลบหลู่ มาแย้งมาเถียงกับเราไปทำไม การติดยึดเช่นนี้จึงพาให้อัตตาโต จึงไม่สามารถบรรลุดับอัตตาลงได้ คุณจะเอาชนะให้อัตตาโต หรือจะยอมให้อัตตาตาย
4. เทวดาจะชนะครั้งเดียวคือครั้งสุดท้าย เมื่อชนะแล้วก็จบเลย จึงยิ่งใหญ่ ส่วนอสูรนั้นจะชนะมากและชนะบ่อยๆ ... นี่แหละคือแพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร ... การอยู่เหนือโลกนั้น เป็นฉันใด การพูดสอนโดยตำหนิว่ากล่าวว่าเขาผิด เขาไม่ดีนั้น ย่อมมีคนไม่พอใจแน่ๆ พระพุทธเจ้าเอาศาสนาพุทธของพระองค์ไปประกาศนั้น โลกยุคนั้นยังไม่มีศาสนานิพพาน ยังไม่มีโลกุตระเลย โลกุตระนั้นคือตรงข้ามกับโลกียธรรมแต่เข้าใจโลกียสุข สุขของโลกียะก็มีแค่บำเรอสุขด้วยกาม ด้วยบำเรออัตตาให้อิ่มลาภ ยศ สรรเสริญ อันเป็นสุขเท็จ สุขหลอก สุขในการใคร่อยากได้มาบำเรอให้สมใจ
5. ก็มีแต่อัตตาสองส่วนคือ กามและอัตตา ไม่มีมัชฌิมา เมื่อลอกกามออกได้หมดแล้ว ก็เหลือแต่ตัวอัตตาภายในเท่านั้น คือ รูปภพ อรูปภพ คือ ความวนในสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ เวลาจะปฏิบัติก็จะต้องมีผัสสะ แล้วกำหนดรู้ให้เป็น คือรู้เวทนาทั้ง ๓ และต้องกำหนดรู้ ๔ อย่างอีกด้วย คือ อาหารทั้ง ๔ หากกำหนดรู้สิ่งนี้ไม่ได้ ก็จะปฏิบัติธรรมของพุทธไม่เป็น และไม่ได้ผล
6. พ่อครูไล่การกำหนดรู้ไปให้ครบทั้ง ๑๐ อย่าง โดย๔อย่างคือ อาหาร๔ (ก็มีการกำหนดรู้นามรูป จึงจะรู้จักวิญญาณได้ ส่วนกวลิงการาหารได้แก่คำข้าวเลี้ยงกายขันธ์) กำหนดรู้๕อย่างคือ อุปาทานในขันธ์ทั้ง๕ รู้วิญญาณเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย กำหนดรู้๖อย่างคือ อายตนะทั้ง๖ กำหนดรู้๗อย่างคือวิญญาณฐีติทั้ง๗ วิญญาณเข้ามาทำงานโดยมีธาตุรู้ที่ไม่หยุดรู้ แต่นักทำสมาธิก็มักไปสะกดมันไว้ ไม่ให้ธาตุรู้ทำงาน เป็นอสัญญีสัตว์ แล้วก็ไปหลงในการไม่มีการรับรู้นั้นว่า จิตเขาไม่ระคนไปด้วยการปรุงแต่งใดๆแล้ว เขาจึงถือว่าได้นิพพานกันแล้ว
7. พ่อท่านยังไม่เคยเห็นใครสอนอธิบายเรื่องเวทนาทั้ง ๑๐๘ เลย พ่อครูพาสอนให้ปฏิบัติก่อน แล้วมาสอนปริยัติให้ตรวจสอบทีหลัง ส่วนคนอื่นเอาแต่เรียนปริยัติก่อน ไม่มีการปฏิบัติจึงไม่มีข้อสงสัย หรือไม่มีความรู้อะไรเพิ่มขึ้นอีก ... กำหนดรู้ ๘ อย่างคือ โลกธรรม๘ กำหนดรู้ ๙ อย่างคือ สัตตาวาส ๙ พ่อครูกำลังเรียบเรียงเขียนหนังสือ “ฉีกหน้าความเป็นสัตว์” อายตนะ๑๐คือ สิ่งที่ควรกำหนดรู้ ๑๐ อย่าง อันมีภพนอกทั้ง๑๐ ที่คุณต้องดับเบื้องต้นให้หมดกามภพให้ได้ก่อน แล้วจึงจะเลื่อนมาปฏิบัติกับรูปภพ อรูปภพ ภายใน อันเป็นภูมิของอนาคามี จนสามารถเป็นพระอรหันต์กัน
8. พ่อครูขอถามบ้างว่า มีใครบ้างที่มาอธิบายหลักธรรมกันอย่างนี้ ในพุทธการกธรรมเช่นนี้ แม้เรื่องการบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ไม่ได้มาปฏิบัติธรรมให้บรรลุ แต่ว่าพระองค์ท่านทรงมีคุณธรรมที่ได้เคยปฏิบัติธรรมมามาก จนเพียงพอแก่การเป็นพระพุทธเจ้าได้แล้ว ท่านมีสัมมาสัมโพธิญาณครบถ้วนมาหมดแล้ว มีมาก่อนที่จะมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะซะอีก ไม่ใช่จะมีเอาตอนที่ไปนั่งสมาธิ อย่าไปคิดเอาง่ายๆ ดายๆ ... การนั่งสมาธิวันตรัสรู้นั้น พระองค์ทรงตรวจสอบดูเรื่อง “พุทธุปปาทกาละ” อันหมายถึง การตรวจดูถึงความเหมาะสมในทุกๆ ประการ เช่น กาลสมัย บุคคลต่างๆ ที่มีครบพร้อมสมควรแก่การประกาศพุทธศาสนาได้แล้วหรือยัง พ่อท่านรู้ได้เช่นนี้ ก็เพราะมีความรู้ในการเป็นพระโพธิสัตว์
9. การรู้ทางไปโลกุตระเป็นอย่างนี้ คือ ทางไปลดกิเลส ไม่ไปบำเรอมัน ไม่ให้มันได้สมอยาก จึงต้องลำบากในการต่อสู้ก่อน เมื่อคุณเริ่มต่อสู้จริงๆ จึงจะมีอาการจิตโทมนัสเช่นนี้ปรากฏ ขึ้นจริงๆ เมื่อละได้ เอาชนะการต่อสู้ได้ คุณก็จะมีสภาวะโสมนัส ปีติใจ ยินดีที่ชนะได้ ย่อมผ่องใส ย่อมเห็นแจ้งในการดับ ในการนิโรธ พ่อครูจึงอธิบายลักษณะของจิตที่หลุดพ้นออกมาได้ ว่า จะเบา ว่าง สบายๆ ไม่ต้องไปหามาบำเรอมันอีก
10. จิตจึงสงบ จิตมีของจริง เพราะมีเวทนาเช่นนี้กันจริงๆ มีมโนปวิจาร ๑๘ ลักษณะ (เวทนา๓ กับอายตนะ๖ คูณกันเป็น ๑๘) ซึ่งควรจะทำได้จากอายนะภายนอกทั้ง ๕ ก่อน ซึ่งอาหาร ๔ นี้แหละที่เป็นตัวปฏิบัติภายนอกและภายในกันจริงๆ
11. อาหารที่๑ อาหารคือคำข้าวเคี้ยวกิน ที่จะเกิดการเรียนรู้กับอายตนะ๑๐ ก่อน ปฏิบัติกับอาหารจึงตรงกับ การปฏิบัติอันไม่ผิด (อปัณณกธรรม ๓) คือ จะต้องสำรวมอินทรีย์ และรู้ประมาณในการกินอาหาร กินอาหารก็มีผัสสะไปถึงวิญญาณ พ่อครูอ่านปุตตมังสสูตร ไปทีละประโยคและฉีกแยกแยะอธิบายไป อย่างละเอียด (เนื้อความมีว่า เหมือนอย่างว่า ภรรยาสามี ๒ คน ถือเอาเสบียงเดินทางเล็กน้อย แล้วออกเดินไปสู่ทางกันดาร เขาทั้งสองมีบุตรน้อยๆ น่ารักน่าพอใจอยู่คนหนึ่ง เมื่อขณะทั้งสองคนกำลังเดินไปในทางกันดารอยู่ เสบียงเดินทางที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยนั้นได้หมดสิ้นไป แต่ทางกันดารนั้นยังเหลืออยู่ เขาทั้งสองยังข้ามพ้นไปไม่ได้
12. ครั้งนั้นเขาทั้งสองคนคิดตกลงกันอย่างนี้ว่า เสบียงเดินทางของเราทั้งสองอันใดแลมีอยู่เล็กน้อย เสบียงเดินทางอันนั้นก็ได้หมดสิ้นไป แล้ว แต่ทางกันดารนี้ยังเหลืออยู่ เรายังข้ามพ้นไปไม่ได้ อย่ากระนั้นเลย เราสองคนมาช่วยกันฆ่าบุตรน้อยๆ คนเดียว ผู้น่ารัก น่าพอใจคนนี้เสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง เมื่อได้บริโภคเนื้อบุตรจะได้พากันเดินข้ามพ้นทางกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น ถ้าไม่เช่นนั้นเราทั้งสามคนต้องพากันพินาศหมดแน่
13. ครั้งนั้น ภรรยาสามีทั้งสองคนนั้น ก็ฆ่าบุตรน้อยๆ คนเดียวผู้น่ารัก น่าพอใจนั้นเสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง เมื่อบริโภคเนื้อบุตรเสร็จ ก็พากันเดินข้ามทางกันดารที่ยังเหลืออยู่นั้น เขาทั้งสองคนรับประทานเนื้อบุตรพลาง ค่อนอกพลางรำพันว่า “ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของฉันไปไหนเสีย ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของฉันไปไหนเสีย” ดังนี้
14. เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นอย่างไร คือว่าเขาได้บริโภคเนื้อบุตรที่เป็นอาหาร เพื่อความคะนอง หรือเพื่อความมัวเมา หรือเพื่อความตบแต่ง หรือเพื่อความประดับประดาร่างกายใช่ไหม ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า หามิได้ พระเจ้าข้า จึงตรัสต่อไปว่า ถ้าเช่นนั้น เขาพากันรับประทานเนื้อบุตรเป็นอาหารเพียงเพื่อข้ามพ้นทางกันดารใช่ ไหม .. ใช่ พระเจ้าข้า พระองค์ทรงสอนในข้อนี้ว่า เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ “กวฬิงการาหาร” ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ความยินดีซึ่งเกิดแต่เบญจกามคุณ
15. พ่อท่านผ่อนให้เบาลงด้วยการพูดปกิณ กะ ... และอธิบายถึงอาหารขั้นที่ ๒ คือ ผัสสาหาร อ่านจากพระพุทธเจ้าสอนภิกษุว่า “ก็ ผัสสาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร?” เหมือนอย่างว่า แม่โคนมที่ไม่มีหนังหุ้ม ถ้ายืนพิงฝาอยู่ก็จะถูกพวกตัวสัตว์อาศัยฝาเจาะกิน ถ้ายืนพิงต้นไม้อยู่ ก็จะถูกพวกสัตว์ชนิดอาศัยต้นไม้ไชกิน
16. หากลงไปยืนแช่น้ำอยู่ ก็จะถูกพวกสัตว์ที่อาศัยน้ำตอดและกัดกิน ถ้ายืนอาศัยอยู่ในที่ว่าง ก็จะถูกมวลสัตว์ที่อาศัยอยู่ในอากาศเกาะกัดและจิกกิน เป็นอันว่าแม่โคนมตัวนั้นที่ไร้หนังหุ้มจะไปอาศัยอยู่ในสถานที่ใดๆ ก็ถูกจำพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นๆ กัดกินอยู่ร่ำไป
17. พ่อท่านสอนว่า ผัสสะนั้นมันมีอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีผัสสะแล้วก็ล้วนแต่มีทุกขเวทนา สุขนั้นไม่มีหรอก มีแต่สุขเท็จๆ สุขลวงๆ การละออกกำจัดให้ถูกตัวตนมัน แล้วความสุขเท็จๆ ก็จะจางออกไป พ่อท่านว่า ควรแปลจากแม่โคไม่มีหนังหุ้ม ว่า สัมผัสทีไรมันก็มีแต่แสบทุกที ไม่มีสุขเวทนากันหรอก พระองค์ทรงสอนในข้อนี้ว่า เมื่ออริยสาวก “กำหนดรู้ผัสสาหาร” ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้เวทนาทั้งสามได้ พ่อท่านสอนด้วยมูลสูตรอีกว่า การปฏิบัติจึงต้องอาศัยผัสสะ ถ้าไม่มีผัสสะก็ไม่มีที่เกิดเวทนา เมื่อเกิดเวทนา จึงได้เรียนรู้วิจัยในเวทนาทั้ง ๑๐๘
18. ให้ลองปฏิบัติละพรากดู ไม่ให้มันได้เสพความอร่อยที่เคยชิน มันก็จะเกิดความไม่เที่ยงให้เราได้เห็น ... มโนสัญเจตนาหาร ก็เป็นอาหารที่มีความมุ่งมาดปรารถ นา ให้กำหนดเรียนรู้จัก ตัณหา ๓ ที่ควรละล้างกามภพให้ได้โสดาฯ สกิทาฯ ให้ได้ก่อนเลย แล้วจึงค่อยไปละล้างรูปภพ อรูปภพ ที่เหลือ ... พ่อท่านสอนเวทนาเชื่อมต่อไปจนถึงปฏิจจสมุปปบาท ที่มีสังขารเพราะอวิชชามาสังขารร่วม
19. เมื่อคุณพยายามปฏิบัติ จนดับได้ เกิดไฟฌาน จนมันมอด มันดับ จึงเห็นนิโรธ ฌานก็คือเหตุที่ปฏิบัติ ในจรณะ ๑๕ นั้นมีเหตุที่ปฏิบัติให้ได้ฌาน จาก ๗ ประการ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยะ สติ ปัญญา จึงจะเกิดฌานทั้ง ๔ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จาก วิโมกข์ ๘ ได้อีก ... มโนสัญเจตนาหาร จึงให้ปฏิบัติละกามภพ จึงจะจัดการส่วนที่เหลือรูปภพ อรูปภพ ทีหลัง คำว่า วิภวตัณหา จึงคือตัณหาที่ปรารถนาความไม่มีกามภพ และไม่มีภวภพนั้นๆ เลย
20. และเมื่อดับตัณหาทั้ง ๒ ได้แล้วท่านผู้นี้ก็ยังมีความต้องการได้อยู่ เป็นวิภวตัณหาที่ดี เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าเองก็ยังปรารถนาที่จะสร้างศาสนาให้ตั้งมั่นขึ้นได้ก่อน ดังมีหลักฐานที่พระองค์ตรัสกับมาร ว่า “...หากภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นสาวกและสาวิกาของเราจักยังไม่ เฉียบแหลม ยังไม่ได้รับคำแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ยังปฏิบัติธรรมไม่สมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรมที่เรียนกับอาจารย์ ของตนแล้ว ยังบอกแสดงบัญญัติแต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ และข่มขี่ปรัปวาทะที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ฯลฯ . (ตรัสกับมาร พตปฎ.เล่ม ๑๐ ข้อ ๑๐๒)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น