เขียนโดย.. ใจแปลง สู่แดนธรรม
บันทึกย่อพ่อเทศน์ สงครามฯ FMTV บ้านราชฯ ตอน "ตอบปัญหาปกิณกธรรม"
อั. ๒๐ มี.ค. ๒๕๕๕ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ เริ่มเวลา 18:03 น.
เสนอไว้รอพ่อท่านอ่านก่อนเข้ารายการ ... ครั้งที่แล้ว พ่อท่านสอนลึกมาก คือ เหตุที่จะเกิดบรมภาวะ ๕ อย่าง ที่จะได้อิสรเสรีภาพ “เมื่อผัสสะดับวิญญาณก็ดับนั้นดับอย่างไร” และว่าไปถึง การครอบงำของสัมปชานบุคคล ที่ครอบงำมาทีละขั้น ซึ่งก็จะเหมือนกับหมวดธรรมอื่นๆ ที่เข้าอย่างหนึ่งได้ก็เพราะละออก จากสิ่งหนึ่งได้ก่อน (เช่น ครอบงำนิวรณ์ได้จึงเข้าปฐมฌาน ครอบงำวิตก วิจารได้จึงเข้าทุติยฌาน ครอบงำปีติได้จึงเข้าตติยฌาน ครอบงำสุขและทุกข์ได้จึงเข้าจตุตถฌาน ... หรือแม้แต่อานาปานสติสูตร หรือ...อีกสูตรก็เช่นกันที่ว่า ว่างจากบ้าน แต่ไม่ได้ว่างจากศาลา ฯลฯ) ปรากฏว่า พ่อท่านขอข้ามเรื่องปรมัตถธรรมลึกๆ ไปอธิบายให้เชื่อมร้อยกันและกันในวันพรุ่งนี้
"วันเดือนจะเคลื่อนไปยังไงพ่อท่านก็ยังอยู่กับความซ้ำซาก โดยไม่รู้จักเบื่อ สิ่งที่ลงตัวแล้วมันจะซ้ำซากและต้องเป็นเช่นนั้น คนที่เบื่อความซ้ำซากก็เพราะไม่รู้จักเข้าใจ ไม่ศึกษาให้เกิดปัญญา จนอยู่กับความซ้ำซากได้อย่างสงบเย็น ไม่ต้องไปหลงวนอยู่กับสิ่งซ้ำซากที่ไม่ควรซ้ำซาก จนตกติดบ่วงอันนั้นโดยตลอด"
วันนี้พ่อท่านว่าจะไม่อธิบายพระไตรฯ ให้มาก จะตอบประเด็นต่างๆ เช่น ปัญหาถามว่า พระอรหันต์ขี้กะโล้โท้ อรหันต์กับพระโพธิสัตว์ อรหันต์ระลึกชาติได้ไหม
พ่อท่านตอบ อยากให้ชินกับภาษาเรียกบุคคลที่มีอาริยภูมิ เพราะคนส่วนมากมักไปหลงในเรื่องปุถุชน ที่สั่งสมกิเลสให้หลงใหญ่ หลงมาก หลงเลอะเทอะ แม้แต่บางสำนักก็ชอบไปสร้างอะไรให้ใหญ่ๆ เยอะๆ คนใหญ่คนโตในบ้านเมืองก็มักจะหลงเช่นนั้นด้วย ... อรหันต์ก็คือ ผู้เพียรศึกษาและกำจัดกิเลสตัณหาจนหมด เป็นอรหันต์ขี้กะโล้โท้ก็เพราะเพิ่งจะบริสุทธิ์ใหม่ๆ แต่ยังไม่เข้าใจโลก ไม่เก่งในการงาน ไม่ค่อยจะรู้โลกที่มันมีความซับซ้อน ไม่มีปฏิสัมภิทาญาณนัก ไปทำงานร่วมกับชาวโลกก็จะบกพร่อง ผิดพลาดเรื่องของโลกได้ จึงแตกต่างกับพระอรหันต์ที่รู้ทันโลก และสามารถช่วยคนที่ถูกโลกหลอกไป
พระอรหันต์ต้องระลึกชาติแบบ "ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ" ได้ทุกองค์ ไม่ใช่มุ่งเน้นไปที่การระลึกชาติของ หยาบๆ ที่เป็นตัวเป็นตน คำว่า “ชาติ” นั้นหมายถึงการเกิดของกิเลส ที่มันมีชาติ มีโคตร มีอาหารลึกซึ้ง มีวรรณะต่างกันก็เป็นเรื่องของจิตเกิดและกิเลสเกิดทั้งนั้น ส่วนการระลึกชาติแบบเป็นตัวเป็นตนนั้น อรหันต์บางรูปก็ไม่เก่งไประลึกได้ทุกรูปหรอก เพราะมันเป็นเรื่องยาก แต่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณอันเป็นเรื่องของธรรมะนั้น ทุกท่านย่อมทำได้ เพราะต้องระลึกถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปของกิเลสในสภาวจิตต่างๆ
ยิ่งเป็นพระอาริยะชั้นสูง ก็ยิ่งจะต้องรู้จักการเกิดในระดับอาสวะ คือต้องทำ ต้องทบทวน ต้องลงบัญชีตรวจงบดุลการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ของกายกรรม วจีกรรม ที่เกิดออกมาจากจิตเป็นประธาน ว่า มาจากอกุศลเหตุหรือกุศลเหตุ ต้องพยายามตรวจระลึกรู้ให้ทัน ยิ่งระลึกได้เก่งก็สามารถระลึกผ่านภพชาติไปในอดีตชาติที่เป็นตัวเป็นตนได้ หรือบางองค์ก็ไม่ได้ระลึกชาติเป็นรูปก็มี คือ ระลึกเป็นอรูป
พระอรหันต์เหมือนกันกับพระโพธิสัตว์ก็ตรงที่ รู้อริยสัจ ๔ ได้เช่นกัน จนรู้การนำตนออกจากทุกข์ได้สิ้น แล้วก็ทำหน้าที่ทำประโยชน์ท่าน สอนผู้อื่นช่วยเขาให้ออกจากทุกข์อริยสัจได้อีก แต่คนเข้าใจอรหันต์ผิดเพี้ยน ก็ไปเจออรหันต์ที่ไม่รู้จักทำประโยชน์ท่านเลย เถรวาทเข้าใจผิดในอรหันต์ คือ มุ่งจะเอาแต่ประโยชน์ตน แต่ก็ตนก็ไม่ได้หรอกเพราะหลงเลอะ
มีคนแสดงความเห็นมาว่ากรรมจำแนกสัตว์ พ่อท.ขยายความให้ชัด กรรมคือมีทั้งบาปและบุญนะ ไม่ใช่มีแต่บาป แม้แต่คิดอยู่ในจิตก็เป็นกรรมที่จะมีพลังขับเคลื่อนออกมา พ่อท่านสอนให้รู้ตั้งแต่ธาตุริเริ่มดำริทั้ง ๗ ขั้น (สามขั้นแรกเป็นเส้าของตักกะ คือริเริ่มที่จะคิด สามขั้นต่อมาเป็นเส้าของวิตักกะ คือรวบรวมกำลังให้คิดที่จะทำกรรมแน่นอน และขั้นที่ ๗ จึงจะมีกำลังของความคิดปรุงแต่ง จนกว่าจะมีกำลังแน่วแน่จึงตกผลึกเป็น แกนอัปปนา พยัปปนา เจตโส อภินิโรปนา จนเกิดวจีสังขารา และวจีกรรมในที่สุด แล้วก็สุดแท้แต่จะได้แกนกุศล หรือแกนของอกุศลเป็นตัวปั่นพลังขึ้น
พระอรหันต์ท่านก็ลดตัวเหตุที่ทำบาปได้หมดแล้ว ท่านก็ยังมีกรรมได้อยู่อีก คือทำแต่กรรมที่เป็นอกุศลให้สมบูรณ์ คนมักเข้าใจผิดว่าพระอรห.หมดกรรมชั่วกรรมดีแล้ว ไม่มีกรรม ไม่มีผิด ไม่มีถูก ฯลฯ ซึ่งพ่อท่านว่าวันหลังจะอธิบายให้ครบๆ ซึ่งมันก็มีและไม่มียังไง ต้องรู้จักให้ดี อันกรรมชั่ว กรรมดีนั้น เป็นสมมุติสัจจะที่คนยึดถือขึ้นมาตามยุคสมัย ซึ่งมันไม่เที่ยงทั้งกาลเวลาและทั้งสังคมหมู่อื่นก็เห็นไม่เหมือนกัน
สมมุติว่าคุณมีความยึดความถูกต้องของตน แต่กาละนี้หมู่เขาจะเอาแบบนั้น คุณไปยึดความถูกของคุณเอง คุณก็ยึดอัตตาเป็นสัจจะ ทั้งที่สัจจะนั้นมันไม่มีอยู่กับอัตตาหรอก มันมีอยู่กับหมู่เท่านั้น สมมุติสัจจะจึงยิ่งใหญ่ที่มีความสำคัญยิ่ง
กรรมจำแนกสัตว์ทุกคน ... มีคนให้ข้อมูลมาว่า ถ้าใครจะได้ใส่บาตรอยู่แถวหน้าพระธรรมกายจะต้องเสียเงินสามหมื่น (พ่อ.วิจารณ์ว่า นั่นเป็นการหลงความหรู ความใหญ่ การจัดสร้างปรุงแต่ง ฯลฯ)
การจะอดทนได้มาก อดทนได้น้อย ไม่ทันไรก็ตาย มันก็เป็นเรื่องของจิตเป็นใหญ่ทั้งนั้น ถ้าคุณอดทนทำได้จนทุกข์มันก็หายไป นั่นแหละทุกข์มันก็ไม่มีตัวตนหรอก มันมีแต่เวทนาที่เรารู้สึกขึ้น ...
ชาวอโศกอ่านหนังสือน้อย เพราะทำแต่งาน ในหัวก็มีแต่งานๆๆๆ (พ่อท.ว่า สังคมใดงานตกคนสังคมนั้นก็เจริญ สังคมใดคนตกงาน อันนั้นเสื่อม ปฏิบัติธรรมให้เป็นด้วยการทำงานให้เป็นการชำระ) ...
ความเห็นของท่านมอลญ์ว่า จุดอ่อนของนักปธ. คือ “มัวแต่นึกถึงจุดหมายปลายทาง” ไม่ใส่ใจในภารกิจปัจจุบันระหว่างกระทำ ... เวลาเห็นคนเลวในสังคมยังลอยนวล ทำไมวิบากกรรมเขามันเล่นงานช้าจ
ัง หลวงพี่องค์หนึ่งสอนว่า จะมัวไปรอเห็นวิบากเขาทำไม เอาเวลาที่รอมาทำความดีดีกว่า
ในหลวงเหมือนมหาชนกและเตมีย์ใบ้ แล้วพ่อท.บำเพ็ญอะไร (ผมเสนอความจำส่งไปบอกว่า พ่อท.เคยตอบว่า มาบำเพ็ญอธิษฐานบารมีครับ แต่พ่อท.ไม่เห็น ตอบแต่เพียงว่า ก็พยายามมุ่งหมายที่จะสามารถเผยแพร่ความจริงออกไปให้ได้ และก็ขอขอบคุณพวกเราทุกคนที่พยายามมาช่วยกันทำเช่นนี้ เราไม่ได้ทำให้แก่เราเองหรอก ... แม้เราจะไม่ได้มีบทบาทช่วยเหลือสังคมจนโชว์ชัดเจน เหมือนหลวงตามหาบัวก็ตาม เราก็สร้างของเรา ฯลฯ
ถามลึกๆ ว่า อธิศีล-จิต-ปัญญา ฌาน สมาธิ นิพพาน แตกต่างและสัมพันธ์กันอย่างไร (ก็แตกต่างแค่ชื่อเรียกเท่านั้น แต่เวลาปฏิบัติก็ย่อมสัมพันธ์ต่อเนื่อง ไปถึงจิตด้วยกันทั้งหมด เพื่อไม่ให้จิตก่อกรรมบาปภัย เป็นฌานเป็นสมาธิก็ต้องมีปัญญา ไม่ได้แยกออกจากกันเลย ปฏิบัติฌานก็ไม่ได้นั่งหลับตาเลย ฌานของพระพุทธเจ้าไม่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะหลับตาเลยจริงๆ ปฏิบัติฌานก็ลืมตาทำไปตั้งแต่จรณะ ๑๕ ทำอยู่กับเรื่องกิน เรื่องใช้ นี่แหละ ทำอย่างตื่นๆ เพื่อจะตื่นออกจากโลกียกิเลส โดยไม่ต้องเข้าและไม่ต้องออก แบบไปๆ มาๆ เลย ... แต่เข้าแล้วออกอย่างไรนั้น ต้องมาติดตามศึกษาให้ดีๆ (พรุ่งนี้ พ่อท่านบอกผู้ชมไว้ว่า จะอธิบายให้เชื่อมโยงร้อยเรียงอย่างลึกซึ้งในปรมัตถธรรมอีก)
ธรรมฤทธิ์ที่ทำให้จิตแข็งแรงจริงๆ ก็คือมีปัญญาที่เข้าใจความจริงดีจริง ...
รวม ๒ ชม. ๐๓ นาที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น